ตอนที่ 86 ผลงานของนาวาอากาศตรีโพธิ์ ชูประดิษฐ์ และขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)

ตอนที่ 86 ผลงานของนาวาอากาศตรีโพธิ์ ชูประดิษฐ์ และขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)

 

ตอนที่ 86 ผลงานของนาวาอากาศตรีโพธิ์ ชูประดิษฐ์ และขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
ชื่อเพลง : เพลงศรอนงค์
ผู้ขับร้อง : กำธร สุวรรณปิยะศิริและอารีย์ นักดนตรี
ผู้ประพันธ์คำร้อง : ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
ผู้ประพันธ์ทำนอง : นาวาอากาศตรีโพธิ์ ชูประดิษฐ์ (ครูโพธิ์ดำ)
ชื่อเพลง : เพลงขุนพลแก้ว
ผู้ขับร้อง : นักร้องสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม
ผู้ประพันธ์คำร้อง : ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
ผู้ประพันธ์ทำนอง : นาวาอากาศตรีโพธิ์ ชูประดิษฐ์
ชื่อเพลง : เพลงม้าแก้ว
ผู้ขับร้อง : ขับร้องนำหมู่โดย มนัส รามโยธิน
ผู้ประพันธ์คำร้อง : ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ได้
ผู้ประพันธ์ทำนอง : นาวาอากาศตรีโพธิ์ ชูประดิษฐ์
ชื่อเพลง : เพลงนางแก้ว
ผู้ขับร้อง : ขับร้องหมู่หญิง-ชาย
ผู้ประพันธ์คำร้อง : ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ได้
ผู้ประพันธ์ทำนอง : นาวาอากาศตรีโพธิ์ ชูประดิษฐ์
ชื่อเพลง : เพลงบ้านไร่นาเรา
ผู้ขับร้อง : ธานินทร์ อินทรเทพ
ผู้ประพันธ์คำร้อง : ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ได้
ผู้ประพันธ์ทำนอง : พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทะยากร) และนาวาอากาศตรีโพธิ์ ชูประดิษฐ์
ชื่อเพลง : เพลงไตรรงค์
ผู้ประพันธ์คำร้อง : ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
ผู้ประพันธ์ทำนอง : เรือโทมานิต เสนะวีณิน
ชื่อเพลง : เพลงฉันหาหวานใจ
ผู้ขับร้อง : จำรัส สุวคนธ์
ผู้ประพันธ์คำร้อง : ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
ชื่อเพลง : เพลงเธอกับฉันคือเพลง
ผู้ขับร้อง : จำรัส สุวคนธ์ และประมวล รัศมิทัต
ผู้ประพันธ์คำร้อง : ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
ความยาว : 46.23  นาที
รายละเอียด : นาวาอากาศตรีโพธิ์ ชูประดิษฐ์ (ครูโพธิ์ดำ) สอนดนตรีที่กองทัพอากาศ เป็นลูกศิษย์พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยากร) ในระหว่างปี พ.ศ. 2481 – 2483 ในขณะที่พระเจนดุริยางค์ ประจำอยู่ที่กองทัพอากาศ และกำลังสร้างภาพยนตร์เรื่องใหม่  “เรื่องบ้านไร่นาเรา” ในปี พ.ศ. 2483 ครูโพธิ์ รับราชการเป็นนักดนตรีประจำวงทหารอากาศ จนกระทั่งมียศเป็นนาวาอากาศตรี  งานเพลงของครูโพธิ์จะประพันธ์ร่วมกับบุคคลอื่นๆ บุคลลสำคัญที่ร่วมงานคือขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ซึ่งเป็นนักประพันธ์คำร้องตั้งแต่สมัยแรกเริ่มของเพลงไทยสากลใหม่ๆ ครูโพธิ์และขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ได้ร่วมกันสร้างละคร เรื่องศรอนงค์ แสดงที่เฉลิมบุรี และต่อมาก็มาแสดงทางทีวีขาวดำ ช่อง 4 บางขุนพรหม แสดงนำโดย กำธร สุวรรณปิยะศิริ และ อารีย์ นักดนตรี ซึ่งได้ร้องเพลงศรอนงค์คู่กันด้วย
“เพลงศรอนงค์” ขับร้องโดย กำธร สุวรรณปิยะศิริและอารีย์ นักดนตรี ประพันธ์คำร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ประพันธ์ทำนองโดย นาวาอากาศตรีโพธิ์ ชูประดิษฐ์ (ครูโพธิ์ดำ)
ในปี พ.ศ. 2536 ศาลาเฉลิมกรุงได้ทำการปรับปรุงโรงใหม่ คุณอารีย์ นักดนตรี ก็ได้กลับไปบริหารงาน และสร้างละครเรื่องศรอนงค์ เป็นปฐมทัศน์ จากที่ได้เปิดโรงละครเฉลิมกรุงใหม่อีกครั้ง เป็นการแสดงยุคเก่า คือเป็นละครพูด และมีเพลงประกอบ 1-2 เพลง มีการเปลี่ยนฉาก ในขณะเปลี่ยนฉากก็จะมีการขับร้องเพลงหน้าม่าน คั่นเวลา ในอดีตละครเรื่องหนึ่งจะมีเพลงหน้าม่าน 1-2 เพลง บางเรื่องเมื่อเล่นไปหลายๆ รอบ คนดูก็อยากฟังเพลงเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับละครเรื่องศรอนงค์ เดิมทีเดียวมีเพลงประกอบเพียงเพลงเดียว เมื่อเล่นหลายๆ รอบ ก็มีคนขอให้เพิ่มเพลง ก็มีเพลงประกอบเพิ่มอีก 3 เพลง คือ เพลงขุนพลแก้ว เพลงม้าแก้ว และเพลงนางแก้ว
“เพลงขุนพลแก้ว” ขับร้องหมู่โดยนักร้องสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม ประพันธ์คำร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ประพันธ์ทำนองโดย นาวาอากาศตรีโพธิ์ ชูประดิษฐ์
“เพลงม้าแก้ว” ขับร้องนำหมู่โดย มนัส รามโยธิน ประพันธ์คำร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ประพันธ์ทำนองโดย นาวาอากาศตรีโพธิ์ ชูประดิษฐ์
“เพลงนางแก้ว”  ขับร้องหมู่หญิง-ชาย ประพันธ์คำร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ประพันธ์ทำนองโดย นาวาอากาศตรีโพธิ์ ชูประดิษฐ์
ในขณะที่นาวาอากาศตรีโพธิ์ ชูประดิษฐ์ เริ่มต้นการทำงานโดยการก่อตั้งกองดุริยางค์กองทัพอากาศ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทะยากร) เป็นอาจารย์ใหญ่ ได้ช่วยกันแต่งเพลงสำหรับภาพยนตร์สำหรับกองทัพอากาศ ซึ่งนำแสดงโดย เสธทวี กับนางงามจังหวัดลำปาง ภาพยนตร์เรื่องบ้านไร่นาเรา สร้างเมื่อปี 2483 มีเพลงเอกคือเพลงบ้านไร่นาเรา
“เพลงบ้านไร่นาเรา” ขับร้องโดย ธานินทร์ อินทรเทพ ประพันธ์คำร้องโดยขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทะยากร) และ นาวาอากาศตรีโพธิ์ ชูประดิษฐ์
“เพลงไตรรงค์” เป็นเพลงในจังหวะมาร์ช ประกอบภาพยนตร์เรื่องเลือดทหารไทย (พ.ศ. 2477) ประพันธ์คำร้องโดยขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)  ประพันธ์ทำนองโดย เรือโทมานิต เสนะวีณิน
ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)  เป็นนักเขียนบทภาพยนตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 เรื่องแรกคือ “เรื่องรบระหว่างรัก” ซึ่งประสบความสำเร็จมากกับหัสดินภาพยนตร์ เป็นภาพยนตร์เงียบ ในปี พ.ศ. 2474 ก็ได้สร้างภาพยนตร์เสียงเรื่องหลงทาง ภาพยนตร์เรื่องปู่โสมเฝ้าทรัพย์  ปี พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องเลือดทหารไทย  ปี พ.ศ. 2477 ภาพยนตร์เรื่องพญาน้อยชมตลาด ปี พ.ศ. 2478 ภาพยนตร์เรื่องเมืองแม่ม่าย ปี พ.ศ. 2478 ซึ่งแต่งคู่กับเรือโทมานิต เสนะวีณิน เมื่อเรือโทมานิต เสนะวีณิน ถึงแก่กรรม ก็มี ครูนารถ ถาวรบุตร เข้ามาทำหน้าที่แทน รวมกับครูโพธิ์ ชูประดิษฐ์
งานชิ้นเอกที่ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ทำร่วมกับครูนารถ ถาวรบุตร คือ ภาพยนตร์เรื่องหวานใจ ประกอบด้วยเพลง 9 เพลง ได้แก่ “เพลงความรักของฉัน” ขับร้องโดย จำรัส สุวคนธ์ และประมวง รัศมิทัต “เพลงพบเธอแล้ว” ขับร้องโดย จำรัส สุวคนธ์ “เพลงเธอใกล้หรือไกล” ขับร้องโดย จำรัส สุวคนธ์ “เพลงเมื่อเธอจากฉัน” ขับร้องโดย จำรัส สุวคนธ์ และประมวง รัศมิทัต
“เพลงฉันหาหวานใจ” ขับร้องโดย จำรัส สุวคนธ์ ประพันธ์บทร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
“เพลงเธอกับฉันคือเพลง” ต้นฉบับ ปี พ.ศ. 2480 ขับร้องโดย จำรัส สุวคนธ์ และประมวล รัศมิทัต ประพันธ์บทร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 86
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลระยะแรกเริ่ม
หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 86
ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล
สถานที่จัดเก็บ :  https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plenthaisakol-86/