ตอนที่ 82 ประวัติและผลงานหลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม)

ตอนที่ 82 ประวัติและผลงานหลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม)

ตอนที่ 82 ประวัติและผลงานหลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม)
ชื่อเพลง : เพลงคนึงครวญ
ผู้ขับร้อง : เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล
ผู้ประพันธ์ทำนอง : หลวงสุขุมนัยประดิษฐ
ชื่อเพลง : เพลงสิ้นรักสิ้นสุข
ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล
ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล
ผู้ประพันธ์ทำนอง : หลวงสุขุมนัยประดิษฐ
ชื่อเพลง : เพลงไม่อยากจากเธอ
ผู้ขับร้อง : เอื้อ สุนทรสนาน
ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล
ผู้ประพันธ์ทำนอง : หลวงสุขุมนัยประดิษฐ
ชื่อเพลง : เพลงเกาะสวาท
ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล
ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล
ผู้ประพันธ์ทำนอง : หลวงสุขุมนัยประดิษฐ
ชื่อเพลง : เพลงเมื่อไรจะให้พบ
ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล
ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล
ผู้ประพันธ์ทำนอง : หลวงสุขุมนัยประดิษฐ
ความยาว : 30.48 นาที
รายละเอียด : หลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม) เป็นชื่อพระสมเด็จเจ้าพระยาดำรงราชานุภาพ พระราชทาน เกิดที่จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นบุตรคนที่ 7 ของมหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงตลับ ในขณะที่เกิดมาบิดามีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุขุม นัยวินิจ ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราช ในขณะนั้นสมเด็จเจ้าพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จไปตรวจราชการ ในฐานะเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จึงประทานชื่อให้บุตรชายคนที่ 7 ที่คลอดใหม่ของเจ้าพระยายมราช ว่า “ประดิษฐ์ สุขุม” เมื่ออายุ 4 ขวบ มารดาได้จ้างครูให้มาสอนหนังสือที่บ้าน จนถึงอายุได้ 7 ขวบ บิดาก็พาไปฝากเข้าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เรียนเพียงปีเดียวก็สามารถสอบเลื่อนข้ามชั้นไปอยู่ชั้นประถมปีที่ 3 เรียนจนถึง ม. 4 ก็ลาออกไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะที่อายุได้ 13 ปี ซึ่งต้องเดินทางไปทางเรือ เป็นช่วงระยะสงครามโลกครั้งที่ 1 ในแถบประเทศในทวีปยุโรป การเดินทางในครั้งนี้มีนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ ซึ่งต่อมาก็คือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และผู้ติดตามอีกหลายคน ซึ่งได้ทุนไปเรียนต่อที่เมืองซีแอตเทิล (Seattle) รัฐแมสซาชูเซตส์ (อังกฤษ: Massachusetts) และได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยบอสตัน เมื่ออายุ 18 ปี ในแขนงวิชาบริหารธุรกิจ และได้เรียนดนตรีและเล่นดนตรีเป็นอาชีพช่วงหนึ่งในขณะที่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา ด้วยมีพื้นฐานการเรียนดนตรีไทยที่กรุงเทพฯ มาก่อน เรียนแมนโดลิน แซกโซโฟน แบนโจ คราริเน็ต บรรเลงรวมกลุ่มกับคนไทย และใช้เป็นอาชีพรอง เรียนจบจากมหาวิทยาลัยบอสตัน เมื่อปี พ.ศ. 2468 ก็เดินทางกลับประเทศไทย ก็ได้ทำงานและเล่นดนตรีไปพร้อมกันด้วย และตั้งวงดนตรีกับเพื่อนๆ เมื่อปี พ.ศ. 2477 เป็นวงดนตรีแจ๊สวงแรกของเมืองไทย มีครูนารถ ถาวรบุตร เล่นเปียโน สาลี่ กล่อมอาภา ตีกลอง วุฒิ สุทธิเสถียร สีไวโอลิน เจียม ลิมปิชาติ (หลวงชาติตระการโกศล) เป่าแซกโซโฟน จำปา เล้มสำราญ เป่าทรัมเป็ต หลวงสุขุมนัยประดิษฐ เล่นแบนโจ แสดงอยู่ที่โฮเต็ลพญาไท (โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในปัจจุบัน) มีความสัมพันธ์กับบริษัทไทยฟิล์ม จึงได้รู้จักกับครูเอื้อ สุนทรสนาน ครูเวส สุนทรจามร เมื่อตั้งกรมโฆษณาการขึ้น มีคุณวิลาศ โอสถนนท์ เป็นอธิบดีคนแรก หลวงสุขุมนัยประดิษฐ เป็นกำลังสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดวงดนตรีสากลประจำกรมโฆษณาการ และได้เชิญ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ครูเวส สุนทรจามร และคนอื่นๆ มาเปิดเป็นวงดนตรีกรมโฆษณาการ และเป็นวงดนตรีสุนทราภรณ์ในเวลาต่อมา หลวงสุขุมนัยประดิษฐ นิยมแต่งเพลงในทำนองแจ๊ส เพลงที่มีชื่อเสียงมากคือเพลงคนึงครวญ
“เพลงคนึงครวญ”  (ต้นฉบับ) ขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย หลวงสุขุมนัยประดิษฐ
“เพลงสิ้นรักสิ้นสุข” (ต้นฉบับ) ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดยหลวงสุขุมนัยประดิษฐ
“เพลงไม่อยากจากเธอ” ขับร้องโดย เอื้อ สุนทรสนาน ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย หลวงสุขุมนัยประดิษฐ
“เพลงเกาะสวาท” ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย หลวงสุขุมนัยประดิษฐ
“เพลงเมื่อไรจะให้พบ” ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย หลวงสุขุมนัยประดิษฐ
หลวงสุขุมนัยประดิษฐ ได้ทำหน้าที่ในขบวนเสรีไทย ชื่อว่า “นายเจน” หรือ “นายน้อย อาจหาญ” ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านมีบทบาทในขบวนเสรีไทยสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยมีอิสรภาพมาจนทุกวันนี้
ในปลายชีวิตราชการ หลวงสุขุมนัยประดิษฐ ทำงานที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และได้จัดให้มีการประกวดดนตรีกับห้างไนติงเกลโอลิมปิค หลวงสุขุมนัยประดิษฐ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2510
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 82
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลระยะแรกเริ่ม
หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 82
ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล
สถานที่จัดเก็บ : https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol-82/