ตอนที่ 70 ประวัติและผลงานประพันธ์บทร้องเพลงของครูเอิบ ประไพเพลงผสม ตอนที่ 1

ตอนที่ 70 ประวัติและผลงานประพันธ์บทร้องเพลงของครูเอิบ ประไพเพลงผสม ตอนที่ 1

ตอนที่ 70 ประวัติและผลงานประพันธ์บทร้องเพลงของครูเอิบ ประไพเพลงผสม ตอนที่ 1
ชื่อเพลง :เพลงแสนวิโยค
ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล
ผู้ประพันธ์คำร้อง : เอิบ ประไพเพลงผสม
ชื่อเพลง : เพลงห้วงน้ำลึก
ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล
ผู้ประพันธ์คำร้อง : เอิบ ประไพเพลงผสม
ชื่อเพลง : เพลงเสน่ห์หา
ผู้ขับร้อง : วินัย จุลบุษปะ
ผู้ประพันธ์คำร้อง : เอิบ ประไพเพลงผสม และ เอื้อ สุนทรสนาน
ชื่อเพลง : เพลงกรรมเอ๋ยกรรม
ผู้ขับร้อง : วินัย จุลบุษปะ
ผู้ประพันธ์คำร้อง : เอิบ ประไพเพลงผสม
ผู้ประพันธ์ทำนอง: เอื้อ สุนทรสนาน
ชื่อเพลง : เพลงน่าเพลินใจ
ผู้ขับร้อง : เอื้อ สุนทรสนาน
ผู้ประพันธ์คำร้อง : เอิบ ประไพเพลงผสม
ชื่อเพลง : เพลงครวญรัก
ผู้ขับร้อง : เอื้อ สุนทรสนาน
ผู้ประพันธ์คำร้อง : เอิบ ประไพเพลงผสม
ความยาว : 31.01 นาที
รายละเอียด : ครูเอิบ ประไพเพลงผสม เดิมชื่อ เติม นฤมิตร เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2445 บิดาชื่อขุนราชนุกิจ (กิ้ม นฤมิตร) มารดาชื่อ มุ้ย ครูเอิบเป็นลูกคนสุดท้อง มีพี่สาวอีก 2 คน บ้านเดิมอยู่บางขุนเทียน เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาธิวาส (วัดสามปลื้ม) จนกระทั่งจบชั้นมัธยมปีที่ 6 หลังจากนั้นครูเอิบก็หัดดนตรีไทยในวงปี่พาทย์โดยเรียนพร้อมๆ กับครูมนตรี ตราโมท ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ครูเอิบรับราชการเป็นมหาดเล็กในวงปี่พาทย์หลวงในสมัยรัชกาลที่ 6 และได้ตามเสด็จไปทุกแห่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ทรงตั้งวงดุริยางค์สากล วงเครื่องสายฝรั่งหลวงขึ้น โดยมีพระเจนดุริยางค์เป็นครูใหญ่  ครูเอิบ ก็ได้ย้ายมาเป็นนักดนตรีในวงเครื่องสายฝรั่งหลวง ด้วยมีความสามารถที่สูง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานเป็นหมื่นประไพเพลงผสม ท่านจึงใช้นามสกุล “ประไพเพลงผสม” เรื่อยมาจวบชีวิต
ครูเอิบ ประไพเพลงผสมรับราชการในกรมศิลปากรมาเป็นเวลานานถึง 36 ปี จึงได้ขอลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2497 และได้เข้ามาเป็นนักแต่งเพลงโดยร่วมกับครูเอื้อ สุนทรสนาน เพลงที่แต่งมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ในลักษณะกลอนเพลงไพเราะมีลักษณะเป็นกวีที่งดงาม
“เพลงแสนวิโยค” ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล ประพันธ์คำร้องโดย เอิบ ประไพเพลงผสม
นอกจากเพลงแสนวิโยค แล้ว มีเพลงครวญสวาท  ห้วงน้ำลึก ที่มัณฑนา โมรากุล ขับร้อง และมี เพลง ” ทาสน้ำเงิน ” ซึ่งขับร้องโดยวินัย จุลละบุษปะ  เพลงสนต้องลม ซึ่งรวงทอง ทองลั่นทม ได้นำมาขับร้องใหม่  และมีเพลง เย็นเย็น  เพลงครวญรัก  เพลงเหล่านี้อัดไว้กับแผ่นเสียงกระต่ายสีน้ำเงิน อาจารย์พูนพิศ อมาตยกุล และนายแพทย์ธงชัย จักรานนท์ จึงได้ร่วมกันจัดทำและขออนุญาตจากห้างแผ่นเสียงตรากระต่าย และทำเป็นลองเพลย์เพื่ออนุรักษ์
“เพลงห้วงน้ำลึก” ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล ประพันธ์คำร้องโดย เอิบ ประไพเพลงผสม
ครูเอิบ ประไพเพลงผสม เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 และเสียชีวิตในรัชกาลที่ 9  เติบในในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อ่านวรรณคดีจำนวนมาก มีความรู้ควารมเข้าใจในชีวิต และวัฒนธรรมเป็นอย่างดี การประพันธ์คำร้องจึงมีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง
งานที่บันทึกเสียงส่วนมากในสมัยสงครามโลกครั้งที่  2 และหลังสงครามโลกครั้งที่  2 ส่วนใหญ่เป็นแผ่นเสียงตรากระต่ายสีน้ำเงิน
“เพลงเสน่ห์หา” ขับร้องโดย วินัย จุลบุษปะ ประพันธ์คำร้องโดย เอิบ ประไพเพลงผสม และ เอื้อ สุนทรสนาน
“เพลงกรรมเอ๋ยกรรม” ขับร้องโดย วินัย จุลบุษปะ ประพันธ์คำร้องโดย เอิบ ประไพเพลงผสม ประพันธ์ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน
ครูเอิบ ประไพเพลงผสม ได้แต่งเพลงให้ครูเอื้อ สนุนทรสนาน ร้องหลายเพลง เช่น เพลงน่าเพลินใจ เพลงครวญรัก เพลงรักกล่อม
“เพลงน่าเพลินใจ” ขับร้องโดย เอื้อ สุนทรสนาน ประพันธ์คำร้องโดย เอิบ ประไพเพลงผสม
“เพลงครวญรัก” ขับร้องโดย เอื้อ สุนทรสนาน ประพันธ์คำร้องโดย เอิบ ประไพเพลงผสม
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 70
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลระยะแรกเริ่ม
หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 70
ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล
สถานที่จัดเก็บ : https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol-70/