ตอนที่ 50 เพลงไทยสากลยุคกระตุ้นให้รู้จักรักชาติและสิทธิเสรีของประชาชนในยุคจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม

ตอนที่ 50 เพลงไทยสากลยุคกระตุ้นให้รู้จักรักชาติและสิทธิเสรีของประชาชนในยุคจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม

ตอนที่ 50 เพลงไทยสากลยุคกระตุ้นให้รู้จักรักชาติและสิทธิเสรีของประชาชนในยุคจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม
ชื่อเพลง : เพลงเทิดรัฐธรรมนูญ
ผู้ขับร้อง : ขับร้องหมู่และบรรเลงโดยวงดนตรีคณะสตริงแบรนด์ ห้าง ต. เง็กชวน บางลำภู
ชื่อเพลง : เพลงสมบัติเสรีภาพ
ผู้ประพันธ์คำร้อง : เปรื่อง ศิริภัทร์
ผู้ประพันธ์ทำนอง : เวส สุนทรจามร
ชื่อเพลง : เพลงสิทธิเสรี
ผู้ประพันธ์คำร้อง : เปรื่อง ศิริภัทร์
ผู้ประพันธ์ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน
ชื่อเพลง : เพลงวันชาติ 24 มิถุนา
ผู้ประพันธ์คำร้อง : มนตรี ตราโมท
ชื่อเพลง : เพลงเกียรติศักดิ์สามัคคี
ผู้ขับร้อง : วงดนตรีกองทัพเรือ
ชื่อเพลง : เพลงไทยช่วยไทย
ผู้ประพันธ์คำร้อง : จมื่นมานิตย์นเรศ
ผู้ประพันธ์ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน
ความยาว : 30.16 นาที
รายละเอียด : เพลงไทยสากลในยุคของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม มีความประสงค์ให้คนไทยรู้สึกรักชาติ มีเสรีภาพ และมีสิทธิในเสรีภาพนั้น นอกจากนั้นยังต้องการกระตุ้นให้คนไทยรู้สึกว่าประเทศไทยมีสถาบัน 4 สถาบัน คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ และได้สะท้อนมาในเพลงไทยสากล
“เพลงเทิดรัฐธรรมนูญ” แต่ความรู้เกี่ยวกับเพลงรัฐธรรมนูญนั้นไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นเพลงจากทางทหาร ก็จะเป็นเพลงลักษณะเพลงมาร์ช แต่ถ้าเพลงจากทางกรมโฆษณาการ ก็จะเป็นเพลงลักษณะเพลงปลุกใจ แต่ถ้าเป็นค่ายของคนทั่วไป เช่น ของ ห้าง ต. เง็กชวน ก็จะเป็นเพลงในลักษณะฟังเพลินๆ ไม่เน้นในฟอร์มเท่าที่ควรจะเป็น
“เพลงเทิดรัฐธรรมนูญ” วงดนตรีคณะสตริงแบรนด์ ห้าง ต. เง็กชวน บางลำภู ห้างแผ่นเสียงตรากระต่าย เป็นการแสดงให้เห็นว่าคนไทยในสมัยนั้นรู้สึกว่า รัฐธรรมนูญเป็น 1 ใน 4 สถาบัน คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ
พระอาจารย์เปรื่อง เปรียญธรรม 6 ประโยค จากวัดอนงคาราม เมื่อสึกแล้วก็มารับราชการ ทำหน้าที่เบื้องหลังของการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วย อาจารย์เปรื่อง รับราชการในกรมโฆษณาการ 2 ระยะ คือ ระยะแรก ปี พ.ศ. 2476-2481 ในตำแหน่งผู้รักษาการหัวหน้าชั้น 1 หัวหน้าแผนกสารบัญ ได้แต่งเพลง 2 เพลง ได้แก่ “เพลงสมบัติเสรีภาพ” และ “เพลงสิทธิเสรี” ซึ่งสะท้อนความต้องการของรัฐบาลในยุคนั้น
“เพลงสมบัติเสรีภาพ” ประพันธ์คำร้องโดย เปรื่อง ศิริภัทร์ ประพันธ์ทำนองโดย เวส สุนทรจามร
สมบัติเสรีภาพพึงทราบว่า
ปวงประชาต้องประสงค์จำนงหมาย
เพราะว่าเป็นอาภรณ์ให้ร้อนคลาย
สุขสบายกายจิตนิจนิรันดร์
แต่เสรีจะมีโดยไพบูลย์
ตามรัฐธรรมนูญที่สร้างสรรค์
อาศัยเราทั้งผองต้องช่วยกัน
ยึดถือมันในประชาธิปไตย
เว้นแต่ทุจริตซึ่งผิดธรรม
ประกอบกรรมที่ดีมีเหลวไหล
เสรีภาพก็จะอยู่คู่กายใจ
ยังส่งให้สมประสงค์จำนงเอย
“เพลงสิทธิเสรี” ประพันธ์คำร้องโดย เปรื่อง ศิริภัทร์ ประพันธ์ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน
สิทธิ์เสรีภาพ
เป็นเอกลาภยอดปรารถนา
เป็นความสุขของส่ำประชา
ต่างร้องเรียกหาอยู่ทุกคืนวัน
แต่สิทธิ์เสรี
จะบังเกิดมีก็ต้องช่วยกัน
สนับสนุนค้ำจุนยึดมั่น
ระบอบสำคัญประชาธิปไตย
อันเป็นระบอบ
ดีพร้อมรอบครอบชอบด้วยสมัย
ต้องกับจริตผูกจิตชาวไทย
ซื่อสัตย์ในพุทธศาสนาธรรม
ผู้ที่ประสงค์ให้เสรีคง
ให้เสรีคงสิทธิประจำ
อย่าประพฤติผิดทุจริตกรรม
จักถูกกระทำโทษตัดเสรี
รัฐบาลพยายามให้คนไทยรู้สึกในวันชาติ 24 มิถุนายน ซึ่งถือเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ประกาศให้มีการประกวดเพลงวันชาติ อาจารย์มนตรี ตราโมท รับราชการอยู่ในกองการสังคีต กรมศิลปากร ได้แต่งเพลงไทยสากลขึ้น 1 เพลง แล้วส่งเข้าประกวด คณะกรรมการตัดสินให้ได้ที 1 และแก้ ยี่สิบสี่มิถุนา- ดลมหาศรีสวัสดิ์
เป็น ยี่สิบสี่มิถุนา- ยลมหาศรีสวัสดิ์
“เพลงวันชาติ 24 มิถุนา” ประพันธ์คำร้องโดย มนตรี ตราโมท
ยี่สิบสี่มิถุนา ยลมหาศรีสวัสดิ์
ปฐมฤกษ์ของรัฐ ธรรมนูญของไทย
เริ่มระบอบแบบอา รยะประชาธิปไตย
ทั่วราษฎรไทย ได้สิทธิเสรี
สำราญ สำเริง บรรเทิง เต็มที่
เพราะชาติเรามี เอกราชสมบูรณ์
ไทยจะคงเป็นไทย ด้วยร่วมใจเทิดไทย ชโย
ชาติประเทศเหมือนชีวา ราษฎร์ประชาเหมือนร่างกาย
ถ้าแม้ว่าชีวิตมลาย ร่างกายก็เป็นปฏิกูล
พวกเราต้องร่วมรัก พิทักษ์ไทยไพบูลย์
อีกรัฐธรรมนูญ คู่ประเทศของไทย
เสียกายเสียชนม์ ยอมทนเสียให้
เสียชาติประเทศไทย อย่ายอมให้เสียเลย
ไทยจะคงเป็นไทย ด้วยร่วมใจเทิดไทย ชโย
ทหารเรือ ก็ได้ทำเพลงเกี่ยวกับประชาธิปไตย หรือ รัฐธรรมนูญ ด้วย เช่น เพลงเกียรติศักดิ์สามัคคี
“เพลงเกียรติศักดิ์สามัคคี” วงดนตรีกองทัพเรือ
“เพลงไทยช่วยไทย” ประพันธ์ทำนองโดย จมื่นมานิตย์นเรศ ประพันธ์ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 50
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลระยะแรกเริ่ม
หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 50
ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล
สถานที่จัดเก็บ :  https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol-50/