ตอนที่ 38 ประวัติและผลงานครูเวช สุนทรจามร

ตอนที่ 38 ประวัติและผลงานครูเวช สุนทรจามร

ตอนที่ 38 ประวัติและผลงานครูเวช สุนทรจามร
ชื่อเพลง : เพลงถิ่นไทยงาม
ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล
ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล
ผู้ประพันธ์ทำนอง ; เวช สุนทรจามร
ชื่อเพลง : เพลงโลกหมุนเวียน
ผู้ขับร้อง : เอื้อ สุนทรสนาน
ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล
ผู้ประพันธ์ทำนอง ; เวช สุนทรจามร
ชื่อเพลง : ผู้แพ้รัก
ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล
ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล
ผู้ประพันธ์ทำนอง ; เวช สุนทรจามร
ชื่อเพลง : เพลงดอกไม้ใกล้มือ
ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล
ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล
ผู้ประพันธ์ทำนอง ; เวช สุนทรจามร
ชื่อเพลง : เพลงดอกฟ้าร่วง
ผู้ขับร้อง : วินัย จุลบุษปะ และมัณฑนา โมรากุล
ความยาว : 30.46 นาที
รายละเอียด :  ครูเวช สุนทรจามร เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2444 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี บิดาชื่อนายชื่น มารดาชื่อนางทองคำ เมื่ออายุ 6 ขวบ บิดาย้ายมาอยู่ในตัวจังหวัดราชบุรี เพราะรับราชการทหารที่นั่น ต่อมาอายุ 10 ขวบ ได้เข้ามาอยู่ที่วัดอนงคาราม กรุงเทพมหานคร คูเวช เล่าว่า ท่านได้ชมแตรวงเมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เสด็จทอดกฐินที่วัดอนคาราม ซึ่งท่านกำลังเรียนอยู่ที่นั่น ได้รับฟังเพลงจากแตรวงก็ให้เกิดประทับใจ โดยเฉพาะคนเป่าทรัมเป็ต และคิดว่าเมื่อโตจะเป่าแตรให้เป็น เมื่ออายุได้ 1- ปี (พ.ศ. 2457) ก็ได้เข้ารับราชการทหาร ในกองดุริยางค์ กรมทหารราบที่ 3 กระทรวงกลาโหม รับเงินเดือนพระราชทานในขั้นต้นเดือนละ 4 บาท เบื้ยเลี้ยงวันละ 15 สตางค์ และได้พบครูคนแรก คือ สิบตรีอั้น ดีวิมล สอนเป่าแตรคอร์เน็ต ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแตรทรัมเป็ตต่อมา ซึ่งเป่ายากกว่า ครูเวช เริ่มเป่าทรัมเป็ต ตั้งแต่อายุ 14 และเป็นนักเป่าทรัมเป็ตที่มีฝีมือต่อมา ในขณะที่รับราชการทหารก็มีการเรียนดนตรี พร้อมนั้นก็ได้เรียนดนตรีไทยร่วมด้วยตลอดเวลา ต่อมาได้เข้ามาเรียนกับพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ในรัชกาลที่ 6 ก็ได้เรียนดนตรีสากลอย่างจริงจัง ท่านสามารถแต่งเพลง เขียนโน้ต แยกเสียงประสาน และบรรเลงเพลงด้วย
ในปี พ.ศ. 2482 ท่านได้ย้ายจากกรมศิลปากร มาอยู่ที่กรมประชาสัมพันธ์ และร่วมวงกับครูนารถ และตั้งวงดนตรีใหม่ขึ้นเรียกว่า “วงดนตรีกรมโฆษณาการ” ซึ่งต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของวงดนตรีสุนทราภรณ์ ผลงานครูเวช สุนทรจามร มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7โดยการบันทึกเสียงกับห้างบันทึกแผ่นเสียงอัตตังคนิเคราะห์ ซึ่งอยู่บนถนนเจริญกรุง ผลงานในชุดนั้นเป็นผลงานระยะแรกเริ่ม มีนักร้องคนสำคัญคือ อุดม สุนทรจามร ในวันนี้ขอเสนอผลงานของครูเวช สุนทรจามร ที่ได้ร่วมมือกับคณะสุนทราภรณ์ ได้แต่งเพลงกับครูแก้ว อัจฉริยะกุล เป็นจำนวนมาก เช่น “เพลงครัวสวาท” “เพลงธรรมชาติสร้างสรรค์” “เพลงสั่งรัก” “เพลงรักอะไร” “เพลงคนอะไร” “เพลงรอยรักรอยร้าว” ซึ่งเพลงดังที่กล่าวมาทั้งหมดขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล ต่อมาได้แต่งเพลงกับครูดนตรีคนอื่น เช่น “เพลงมาลีแดนสรวง” ซึ่งครูเวช แต่งคู่กับ ครูสุรัฐ พุกกะเวส “เพลงสนต้องลม” แต่งคู่กับ เอิบ ประไพเพลงผสม นอกจากนั้นท่านจะแต่งคู่กับคูรแก้วเสมอ เช่น “เพลงหนูเอย” “เพลงดอกฟ้าร่วง” “เพลงรักคะนองคองก้า” “เพลงถิ่นไทยงาม” “เพลงห้วงน้ำลึก” “เพลงคอยคู่” “เพลงชายที่ต้องการ”
เพื่อระลึกถึงอดีต ก็ย้อนไปฟังเพลงเก่าซึ่งครูเวชแต่งคู่กับครูแก้ว ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ต้องการให้มีการท่องเที่ยวเมืองเชียงใหม่ คือ “เพลงถิ่นไทยงาม” ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย เวช สุนทรจามร “เพลงโลกหมุนเวียน” ขับร้องโดย เอื้อ สุนทรสนาน ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย เวช สุนทรจามร “เพลงผู้แพ้รัก” ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย เวช สุนทรจามร  “เพลงดอกไม้ใกล้มือ” ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย เวช สุนทรจามร “เพลงดอกฟ้าร่วง” ขับร้องโดย วินัย จุลบุษปะ และมัณฑนา โมรากุล ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย เวช สุนทรจามร
ครูเวชได้ร่วมงานกับคณะสุนทราภรณ์เป็นเวลานาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2482 – 2516 ก็ป่วยด้วยโรคหัวใจ และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2526 รวมผลงานที่ท่านแต่งเพลงไว้ทั้งหมดกว่า 282 เพลง เพลงสุดท้ายที่ท่านแต่งเมื่อวันที่ 5  มีนาคม 2526 คือ “เพลงความหวังแห่งโดม”
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 38
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลระยะแรกเริ่ม
หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 38
ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล
สถานที่จัดเก็บ : https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol-38/