ตอนที่ 125 ผลงานของ เบญจมินทร์ (ตุ้มทอง โชคชนะ)

ตอนที่ 125 ผลงานของ เบญจมินทร์ (ตุ้มทอง โชคชนะ)

ตอนที่ 125 ผลงานของ เบญจมินทร์ (ตุ้มทอง โชคชนะ)
ชื่อเพลง : เพลงเสียงครวญจากเกาหลี
ผู้ขับร้อง : สมศรี ม่วงศรเขียว
ผู้ประพันธ์คำร้อง : ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์)
ผู้ประพันธ์ทำนอง : ทำนองเดิมจากปรเทศเกาหลี
ชื่อเพลง : เพลงรักแท้จากหนุ่มไทย
ผู้ขับร้อง : ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์)
ผู้ประพันธ์คำร้อง : ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์)
ชื่อเพลง : เพลงรักริงโง
ผู้ขับร้อง : สุรพล สมบัติเจริญ
ชื่อเพลง : เพลงคร่ำครวญในค่ำคืน
ผู้ขับร้อง : ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์)
ชื่อเพลง : เพลงหน้าฝน
ผู้ขับร้อง : ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์)
ชื่อเพลง : เพลงกลัวแล้วจ้า
ผู้ขับร้อง : ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์) และเพ็ญแข กัลย์จาฤก
ชื่อเพลง : เพลงยอดรักพี่อยู่ไหน
ผู้ขับร้อง : ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์)
ชื่อเพลง : เพลงหนาวอารมณ์
ผู้ขับร้อง : ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์)
ความยาว : 46.33 นาที
รายละเอียด : ตุ้มทอง โชคขนะ หรือ เบญจมินทร์ เป็นนักแต่งเพลงและนักร้องเพลงไทยสากล ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงจากยุคเพลงรำวงสู่ยุคเพลงลูกทุ่ง ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ในขณะที่เรียนที่โรงเรียนมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี ก็เป็นนักร้องประจำโรงเรียน สนใจในเพลงพื้นบ้าน เพลงริมฝั่งแม่น้ำโขง เมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่นก็ย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มหานคร ซึ่งในยุคนั้นตรงกับสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม นายกรัฐมนตรี สนับสนุนให้มีการละเล่นแบบไทยๆ มีการละเล่นรำวงกัน เดิมเรียกว่ารำโทน คือมีโทนแล้วรำตามจังหวะ ต่อมามีการแต่งเนื้อร้องใส่เข้าไปในเพลงรำโทน และรัฐบาลให้ความสนับสนุนและให้อาจารย์มนตรี ตราโมท แต่งเนื้อร้อง ก็เกิดเป็นเพลง “รำวง” ขึ้น เช่น เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด ชิดๆ เข้าไปอีกหน่อย
คุณหญิงละเอียด พิบูลย์สงคราม ก็ได้แต่งเพลงให้กรมศิลปากร ขับร้องและบรรเลงเพื่อให้ประชาชนรำ
“น้องรัก รักบูชาพี่
พี่มั่นคง พี่มั่นคง กล้าหาญ
เป็นนักสู้เชี่ยวชาญ
สมศักดิ์ชาตินักรบ…
            ข้าราชการต้องรำวงเป็น ถ้าคนใดรำไม่เป็นในวันศุกร์ ช่วงบ่ายก็จลาไปฝึกรำวง ผู้อยู่แถวลุมพินี บางรัก
ก็จะไปหัดรำที่สถานลีลาศลุมพินี ผู้ที่อยู่ใกล้ๆ กับพระราชวัง ก็จะไปหัดรำที่วังสราญรมย์ หรือสมาคมพ่อค้าไทย ผู้ที่อยู่แถวสามเสน ก็ไปหัดรำที่สวนอัมพร
            ขณะเดียวกันที่ “เบญจมินทร์” เข้ามาร้องเพลงรำวง ซึ่งเก่งในการร้องเพลงรำวง เสียงดี และสามารถแต่งเพลงรำวงได้ด้วย จึงได้รับขนานนามว่า “ราชาเพลงรำวง” ด้วยความมีชื่อเสียงทางเพลงรำวง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เลิกแล้ว ทางกรมทหารได้ขอตัวให้ไปความบันเทิงกล่อมขวัญทหารที่เกาหลี และที่ญี่ปุ่น เนื่องจากไทยส่งกองพลทหารที่ 21 ไปประจำที่เกาหลี จึงได้ทำนองเพลงเกาหลี และญี่ปุ่น กลับมาหลายเพลง
“เพลงเสียงครวญจากเกาหลี” ขับร้องโดย สมศรี ม่วงศรเขียว ประพันธ์คำร้องโดย เบญจมินทร์ (ตุ้มทอง) โชคชนะ ทำนองเดิมจากเกาหลี
“เพลงรักแท้จากหนุ่มไทย” ขับร้องและประพันธ์คำร้องโดย ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์)
“เพลงรักริงโง” ขับร้องโดย สุรพล สมบัติเจริญ
“เพลงคร่ำครวญในค่ำคืน” ขับร้องโดย ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์)
“เพลงหน้าฝน” ขับร้องโดย ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์)
“เพลงกลัวแล้วจ้า” ขับร้องโดย ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์) และเพ็ญแข กัลย์จาฤก
            จุดเปลี่ยนจากเพลงแนวรำวงมาเป็นเพลงแนวลูกทุ่ง ทำนองเพลงจะเปลี่ยนเป็นแนวลูกทุ่งอย่างชัดเจน
“เพลงยอดรักพี่อยู่ไหน” ขับร้องโดย ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์)
“เพลงหนาวอารมณ์” ขับร้องโดย ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์)
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 125
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลระยะแรกเริ่ม
หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 125
ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล
สถานที่จัดเก็บ : https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol-125/