วัน อ่อนจันทร์ (พ.ศ. ๒๔๖๓-ไม่ทราบปีที่ถึงแก่กรรม)

วัน อ่อนจันทร์ (พ.ศ. ๒๔๖๓-ไม่ทราบปีที่ถึงแก่กรรม)

วัน อ่อนจันทร์

(พ.ศ. ๒๔๖๓-ไม่ทราบปีที่ถึงแก่กรรม)

 

นายวัน อ่อนจันทร์ เป็นบุตรคนโตของ นายนิดและนางพุ่ม อ่อนจันทร์ ชาวชลบุรี เกิดเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๓   มีพี่น้องรวมด้วยกัน ๓ คน มีความสามารถทางดนตรีไทยทุกคน ได้แก่ นางเวียง (จะเข้) และนายว่อง อ่อนจันทร์ (เครื่องสายรอบตัว) 

เรียนหนังสือครั้งแรกที่ ร.ร. วัดหลวง จบ ป.๔ 

พ.ศ. ๒๔๘๔ เข้ารับราชการทหารเรือในตำแหน่ง พลทหาร  

พ.ศ. ๒๔๘๗ สมรสกับนางสอาด อ่อนจันทร์ มีบุตรด้วยกัน ๗ คน  

พ.ศ. ๒๔๘๙ เข้าทำงานที่กรมรถไฟ โรงงานมักกะสัน ในตำแหน่งยาม 

เข้าสู่วงการดนตรีไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยบิดาเป็นผู้สอนจะเข้ให้ เพลงแรกที่เรียนคือ โหมโรงม้ารำ ต่อมาจึงไปเรียนซอด้วงกับครูหลวงประดิษฐไพเราะ  เพลงที่ต่อ เช่น ม้ารำ แสนคำนึง ไส้พระจันทร์ ลาวเสี่ยงเทียน เป็นต้น  

มีความถนัดในการเล่นซอด้วง ทั้งยังมีความสามารถในการเทียบเครื่องปี่พาทย์และทำเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายทุกชนิดได้  

ได้รับเกียรติจากครูหลวงประดิษฐไพเราะให้ทำพิธีไหว้ครู  

ออกแสดงดนตรีครั้งแรกเมื่ออายุ ๒๒ ปีที่ชลบุรี  

เริ่มถ่ายทอดวิชาดนตรีเมื่ออายุ ๕๘ ปี  ถนัดสอนเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายไทยทุกอย่าง วงดนตรีก็ประเภทเครื่องสายไทย ศิษย์ที่เห็นว่ามีฝีมือคือ นายเสนีย์ เกษมวัฒนากุล และนายเกื้อกูล พงษ์มาลา

 

พูนพิศ อมาตยกุล 

(เรียบเรียงจาก บันทึกประวัติศิลปินเพลงไทย ซึ่งบันทึกข้อมูลด้วย นายวัน อ่อนจันทร์)

ที่มา : นามานุกรมศิลปินเพลงไทย ในรอบ ๒๐๐ ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพูนพิศ อมาตยกุล, หัวหน้าโครงการ ; ผู้ร่วมโครงการ, พิชิต ชัยเสรี …[และคนอื่น ๆ].  กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๖.