เพลงโหมโรงราโค สามชั้น ออกสะระหม่า
เพลงราโค สองชั้น เป็นเพลงเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา มีเพียง ๑ ท่อน นายมนตรี ตราโมท ได้มาจากพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) กับอีกเพลงหนึ่งซึ่งมีเพียงท่อนเดียวชื่อ ราโค เช่นกัน แต่เป็นทางฝั่งขะโน้น (ธนบุรี) เข้าใจว่าเพลงราโคนี้คงมาจากชื่อวิถีทางทำนองที่เรียกว่า ราคะ ของอินเดีย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ นายมนตรี ตราโมท ได้แต่งเพลงราโคทั้งสองนี้ขึ้นเป็นสามชั้น บรรเลงติดต่อกันเป็น ๒ เพลง ตามแบบของเพลงโหมโรง ความหมายของเพลงแสดงถึงการฟ้อนรำเป็นหมู่ ๆ รื่นเริงกันในครอบครัวและมีสำเนียงแขกปนอยู่ (มนตรี ตราโมท และวิเชียร กุลตัณฑ์, ๒๕๒๓)
เพลงแขกมอญบางช้าง สามชั้น
เพลงแขกมอญบางช้างนี้ ครูผู้ใหญ่บางท่านกล่าวว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ครูหน่าย บ้านข้างวัดปากง่าม จังหวักสมุทรสงคราม ได้สอนทำนองเพลงสองชั้นให้ศิษย์ไว้ ชื่อเพลงบางช้าง มี ๒ เพลง คือ ใบ้คลั่งบางช้าง และแขกมอญบางช้าง ส่วนทำนองแขกมอญบางชั้ง สามชั้น นั้น พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) เป็นผู้แต่งขึ้น (มนตรี ตราโมท และวิเชียร กุลตัณฑ์, ๒๕๒๓)
บทร้องที่ใช้ในการขับร้องครั้งนี้มาจากเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ขับร้องโดย อัมพร แดงวิจิตร
บรรเลงโดยวงเครื่องสายปี่ชวา คณะบุญช่วย โสวัตร