ตอนที่ 62 เพลงสนุกๆ จากสุนทราภรณ์

ตอนที่ 62 เพลงสนุกๆ จากสุนทราภรณ์

 

ตอนที่ 62 เพลงสนุกๆ จากสุนทราภรณ์
ชื่อเพลง : เพลงเซ็งลี้ฮ้อ
ผู้ขับร้อง : วินัย จุลบุษปะ และสุปาณี พุกสมบุญ
ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล
ผู้ประพันธ์ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน
ชื่อเพลง : เพลงตลาดนัด
ผู้ขับร้อง : เอื้อ สุนทรสนาน และชวลี ช่วงวิทย์
ชื่อเพลง : เพลงของกำนัล
ผู้ขับร้อง : ชวลี ช่วงวิทย์ และเล็ก
ชื่อเพลง : เพลงเลือกคู่
ผู้ขับร้อง : ชวลี ช่วงวิทย์ และ จันทนา โอบายะวาทย์
ชื่อเพลง : เพลงคะนองรัก
ผู้ขับร้อง : เลิศ ผสมทรัพย์ สุปานี พุกสมบุญ
ชื่อเพลง : เพลงรำวงตบแผละ
ความยาว : 31.15 นาที
รายละเอียด : เพลงจากวงดนตรีสุนทราภรณ์นั้น มีทำนองไพเราะ นักร้องเสียงดี บทเพลงเป็นบทกวีนิพนธ์ชั้นเยี่ยมจากนักประพันธ์เพลงหลายๆ คน นอกจากนั้นแล้ว วงดนตรีสุนทราภรณ์ก็ยังมีเพลงประเภทสนุกสนาน
เพลงแรก เกิดขึ้นในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเกิดความขาดแคลนอาหาร ในยุคนั้นมีคำเกิดขึ้นใหม่ คือคำว่า “เซ็งลี้” เนื่องจากในระหว่างเกิดสงครามคนที่ขายของต่างๆ จนร่ำรวย เรียกกันว่า “เซ็งลี้ฮ้อ” ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ได้แต่งเพลงขึ้นเพลงชื่อ “เซ็งลี้ฮ้อ” ขี้น
“เพลงเซ็งลี้ฮ้อ” ขับร้องโดย วินัย จุลบุษปะ และสุปาณี พุกสมบุญ  ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดยมี เอื้อ สุนทรสนาน
“เพลงตลาดนัด” ขับร้องโดย เอื้อ สุนทรสนาน และชวลี ช่วงวิทย์  เนื่องจากในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม นั้น ต้องการให้ราคาของถูกลง จึงคิดวิธีการที่จะทำให้ของถูก จึงจัดให้มีตลาดนัด ก็ทำให้เกิด เพลงตลาดนัดขึ้น ซึ่งเป็นแผ่นเสียงโคลัมเบีย แผ่นสีม่วง
“เพลงของกำนัล” ขับร้องโดย ชวลี ช่วงวิทย์ และ เล็ก  เป็นเพลงซ่อนความสองแง่สองง่ามไว้ในใจว่า สิ่งที่ผู้หญิงจะมอบให้ผู้ชายคืออะไร เมื่อมาเจอกัน จะกระซิบข้างหู คนฟังก็จะไม่ได้ยิน แต่พอจะเดาออกว่าเป็นอะไร
“เพลงเลือกคู่” ขับร้องโดย ชวลี ช่วงวิทย์ และ จันทนา โอบายะวาทย์
“เพลงคะนองรัก” ขับร้องโดย เลิศ ผสมทรัพย์ สุปานี พุกสมบุญ
“เพลงรำวงตบแผละ” ในยุคจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม นิยมให้คนไทยรำวง เดิมเป็นรำโทน โดยใช้โทนตีและใช้ฉิ่งคุมจังหวะ รำกันโดยไม่มีการขับร้อง ต่อมาชาวอยุธยาได้เริ่มร้องโดยใช้ทำนองพื้นบ้าน แต่งเนื้อร้องใส่ลงไป เช่น ตามองตา สายตาก็จ้องมองกัน รู้สึกเสียวซ่านหัวใจ … จนเกิดเป็นความสนุกสนานในยามค่ำคืน เพราะในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ยังไม่มีไฟฟ้า ไม่มีมีหนัง ไม่มีละครดู ไม่มีมหรสพใดๆ ชาวบ้านก็รวมกลุ่มกันเล่นรำวงในยามค่ำคืน ต่อมารัฐบาลได้สนับสนุนให้มีการรำวง โดยให้กรมศิลปากรจัดทำเพลงรำวงมาตรฐานขึ้น ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม แต่งเพลงรำวงให้กรมศิลปากรบรรจุทำนอง ข้าราชการก็รำวงกันอย่างสนุกสนาน ผู้นำสั่งว่าข้าราชการผู้ใดที่ยังรำวงไม่เป็น จะต้องหัดรำวงให้เป็น โดยอนุญาตให้ลาไปหัดในบ่ายวันพุธ และบ่ายวันศุกร์ ได้ที่สมาคมหอการค้าไทย สถานลีลาศสวนอัมพร สถานลีลาศวังสราญรมย์ หรือที่สวนลุมพินี ทุกคนต้องรำวงได้ นายกรัฐมนตรีจะไปเปิดงานที่ไหนก็ต้องรำวง เพลงรำวงจึงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก มีคณะรำวงเกิดขึ้นหลายที่ เช่น ที่บ้านบาตร สามย่าน คณะสุนทราภรณ์ก็ได้ทำเพลงรำวงขึ้นด้วย  หม่อมเจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เห็นว่าการตบแผละของคนไทยเป็นการละเล่นของเพลงชนิดหนึ่ง ถ้ามาทำเป็นรำวงตบแผละคงสนุกสนานดี จึงได้บันทึกเสียงกับบริษัทแผ่นเสียงโคลัมเบีย แต่เสียงไม่ค่อยชัด จึงได้บันทึกเสียงใหม่ อีกครั้ง
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 62
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลระยะแรกเริ่ม
หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 62
ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล
สถานที่จัดเก็บ :  https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol62/