ตอนที่ 43 เพลงคำนับของไทย ตอนที่ 2 เพลงชาติและเพลงคำนับอื่น ๆ ตอนที่ 43 เพลงคำนับของไทย ตอนที่ 2 เพลงชาติและเพลงคำนับอื่น ๆ ชื่อเพลง : เพลงชาติไทย (ทำนองไทย) ผู้ขับร้อง : บรรเลงโดย นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ประพันธ์ทำนอง : จางวางทั่ว พาทยโกศล ชื่อเพลง : เพลงชาติไทย ผู้ขับร้อง : นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ประพันธ์คำร้อง : ขุนวิจิตรมาตรา และนายฉันท์ ขำวิไล ผู้ประพันธ์ทำนองและบรรเลง : นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ชื่อเพลง : เพลงสดุดีพิบูลย์สงคราม ผู้ขับร้อง : นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ประพันธ์คำร้อง : พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) และขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ผู้ประพันธ์ทำนอง :นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ความยาว : 30.37 นาที รายละเอียด : เพลงชาติไทยเกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475 จากประวัติที่พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เขียนไว้ในหนังสืองานศพของท่าน กล่าวไว้ว่า ก่อนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีบุคคลสำคัญมาติดต่อกับท่านว่า ต้องการเพลงปลุกใจให้รักชาติ มีลักษณะคล้ายเพลงชาติ แต่ไม่ยาวเกินไป และมีท่วงทำนองรุกเร้าอารมณ์เหมือนเพลงชาติฝรั่งเศส พระเจนดิยางค์ได้กล่าวว่า เรามีเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่แล้ว ทำไมถึงต้องการเพลงอีกเพลงหนึ่งขึ้นมาแข่งกับเพลงสรรเสริญพระบารมี และได้มีผู้เตือนท่านว่าให้พึงระวัง เพราะอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จะทำให้ท่านเดือดร้อนไปด้วย กาลก็เป็นเช่นนั้น เมื่อถึงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ก็มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น 5 วันต่อมาก็มีผู้มาติดต่อท่านให้แต่งเพลงชาติไทยให้ 1 เพลง โดยด่วนที่สุด และยกวงไปบรรเลงที่รัฐสภา ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ใช้เวลาหลายวันท่านก็ไม่สามารถแต่งเพลงได้ เนื่องจากมีความรู้สึกขัดแย้งว่ามีเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่แล้ว แต่ก็โดนคะยั้นคะยอให้แต่ง วันหนึ่งท่านนั่งรถรางมาทำงาน ได้ยินเสียงรถราง แก๊งๆ ก็ระลึกถึงเพลงเก่าๆ ของฝรั่งเพลงหนึ่ง ก็ได้ความคิด เมื่อมาถึงที่ทำงานก็เริ่มเขียนโน้ตเพลง “เพลงชาติไทย” โดยพยายามทำให้เป็นสำเนียงไทยเท่าที่จะมากได้ ก็เขียนเสร็จภายใน 1 ชั่วโมง เมื่อแยกเสียงประสานเรียบร้อย วันต่อมาก็นำไปบรรเลงให้คณะราษฏร์ฟัง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม หลายคนในคณะชอบมาก ก็ได้มีเพลงชาติเกิดขึ้น ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2475 เป็นเพลงบรรเลงล้วน ต่อมามีผู้แย้งว่า ทำไมเพลงชาติไทยถึงมีทำนองเป็นฝรั่ง ไม่มีทำนองไทยแล้วแปลงเป็นฝรั่งบ้าง จึงมีการประกวดเพลงชาติไทยขึ้น เพลงเดิมของพระเจนดุริยางค์ ได้ลำดับที่ 1 ในด้านที่มีทำนองเป็นฝรั่งหรือเป็นสากล สำหรับจางวางทั่ว พาทยโกศล ซึ่งเป็นครูดนตรีไทย ได้แต่งเพลงชาติไทยที่มีทำนองออกไปในทางไทยเดิม อีกทำนองหนึ่ง ก็ได้ลำดับที่ 1 ของทำนองเพลงไทย ก็เกิดเพลงชาติไทยขึ้น 2 ทาง คือทำนองไทยทางหนึ่ง และทำนองฝรั่งอีกทางหนึ่ง สำหรับเพลงชาติไทยทำนองไทยนั้นได้มีผู้ประพันธ์คำร้องขึ้น แต่ได้สูญหายไปแล้ว คงเหลือแต่ทำนอง ซึ่งนายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล ได้บันทึกโน้ตนั้นไว้ อาจารย์พูนพิศ อมานตยกุล ได้นำโน้ตเพลงในทำนองไทยนั้น มามอบให้นักศึกษาปริญญาโททางด้านดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีคุณกิตติ มหาปริยะ เป็นหัวหน้า นำไปบันทึกเสียงและแยกเสียงประสานใหม่ ให้มีลีลาเป็นเพลงปลุกใจและเพลงชาติ และนำมาเสนอเพื่อเก็บไว้ในห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ เป็นประวัติศาสตร์ที่ควรบันทึกไว้ และถือเป็นเพลงไทยสากลจากอดีตเพลงหนึ่ง “เพลงชาติไทย” (ทำนองไทย) ประพันธ์โดย จางวางทั่ว พาทยโกศล บรรเลงโดย นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล บรรเลงและขับร้องหมู่ เพื่อเก็บไว้ในห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ “เพลงชาติไทย” บทร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา และนายฉันท์ ขำวิไล บรรเลงและขับร้องโดย นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล เพลงชาติไทยที่มีแต่ทำนองล้วนในขั้นต้นนั้น ใช้บรรเลงและเป็นที่นิยม จนถึงปี พ.ศ. 2477-2478 จึงได้ประกาศให้มีการแต่งบทร้องเพลงชาติไทยขึ้น ก็ได้นำโน้ตเพลงของพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) มามอบให้ผู้ที่มีความสามารถแต่งเนื้อร้อง ในบันทึกของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) บันทึกไว้ว่า วันหนึ่งมีผู้นำโน้ตเพลงมามอบให้ท่านและขอให้แต่งบทร้อง จึงได้แต่งบทร้องเป็นกลอนสุภาพ ลงไป 2 เที่ยว และได้ทดสอบขับร้องกับ คุณมานิต เสนะวีณิน ก็ได้ส่งบทร้องนี้ไปให้รัฐสภา และมีการบรรเลงโดยแตรวง และวงดุริยางค์ ซึ่งควบคุมโดยพระเจนดุริยางค์ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ก็มีการปรับแต่งเนื้อร้องโดย หลวงวิจตรวาทการ ภายหลังขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ได้นำบทร้องมาแก้ไขใหม่ และส่งเข้าไปบรรเลงใหม่อีกครั้ง ก็เป็นที่ถูกใจ ดังบทร้องต่อไปนี้ แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา รวมรักษาสามัคคีทวีไทย บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่ เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า เอกราชคือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมใจ รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้ เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย สถาปนาสยามให้เทิดไทยไชโย ในขณะเดียวกันนั้น นายฉันท์ ขำวิไล ก้ได้แต่บทร้องไว้ด้วย ดังนี้ เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต รักษาสิทธิ์อิสระ ณ แดนสยาม ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา ถีงแม้ภัยไทยด้อยจนย่อยยับ ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า ควรแก่ามงามสุดอยุธยา นั้นมิใช่ว่าจะขัดสนหมดคนดี เหล่าเราทั้งหลายและเลือดเนื้อเชื้อชาติไทย มิให้ใครเหยียบย่ำขยำขยี้ ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสรเสรี เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น ว่าไทยนั้นรักชาติไม่ขาดสาย มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงชาย สยามมิวายผู้มุ่งหมายเชิดชัยไชโย บทร้องของนายฉันท์ ขำวิไล ก็ได้รับรางวัลด้วย แต่ก็เป็นรองเนื้อร้องของขุนวิจิตรมาตรา ในสมัยนั้นไม่เคยคิดว่าเพลงชาติไทยจะมีเนื้อร้องยาว-สั้น ประการใด บางโรงเรียนก็ร้องทั้ง 4 ท่อน แต่บางโรงเรียนก็ร้องเพียง 2 ท่อน และมีแผ่นเสียงที่ ประทุม มณี นางเอกคณะละครศรีโอภาส ร้องไว้กับห้างแผ่นเสียง ต. เง็กชวน บางลำภู ก็ร้องไว้ 4 ท่อน แต่เนื่องจากคุณภาพของแผ่นเสียงไม่ดี อาจารย์พูนพิศ อมาตยกุล จึงได้มอบเนื้อเพลงให้กับนักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล นำไปบรรเลงและขับร้องใหม่ เพื่อเก็บเพลงชาติไทยในสมัยนี้ไว้ในห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเพทรัตน์ เพื่อไว้ศึกษาถึงเพลงชาติไทยในยุคโบราณ ในช่วงปี พ.ศ. 2475-2477 มีท่องทำนองและการขับร้องอย่างไร ต่อมาได้มีผู้ตำหนิว่าขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ได้เจตนาเอาชื่อตนเองใส่ลงไปในเพลงชาติไทย ดังเนื้อร้องที่ว่า “แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า” ผู้ที่ตำหนิว่าเอาชื่อภรรยา “ประเทือง” และชื่อตนเอง “สง่า” ใส่ไว้ด้วย ทำให้ขุนวิจิตรมาตรา รู้สึกตกใจมาก เพราะไม่ได้มีเจตนา แต่มันตกที่โน้ตพอดี และภรรยาของท่านก็ไม่ได้ชื่อ “ประเทือง” แต่ชื่อ “วิเชียร” ไม่ได้มีเจตนาดังที่ตำหนิมา ในเวาลาต่อมาก็มีผู้แนะนำว่า เพลงชาติไทย มีเนื้อร้องที่ยาวเกินไป จึงได้ให้แต่งเนื้อร้องเพลงชาติไทยใหม่ วันหนึ่งมีการพบกันในบรรดาผู้ที่มีความสามารถในการแต่งเพลง ที่วังบางขุนพรหม ซึ่งเป็นสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาต ในสมัยนั้น มีบุคคลท่านหนึ่งซึ่งเป็นนายทหาร ได้บอกกับพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) และ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ว่าจะแต่งเนื้อร้องเพลงชาติไทยขึ้นใหม่ เพื่อให้ทันสมัย ท่านคือ หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) จึงได้เนื้อร้องเพลงชาติไทยที่ร้องกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ต่อมามีนักวิเคราะห์เพลงปัจจุบันหลายท่าน และนักหนังสือพิมพ์บางท่าน ทำนองเหมือนเพลงร้องเพลงเด็กเล่นเพลงหนึ่งของฝรั่งเศส ที่พูดถึงไก่ 3 ตัวเดินไปทุ่งนา มีผู้มีความเห็นว่าทำไมไปเอาทำนองเพลงฝรั่งมา ไม่เป็นทำนองไทยแท้ๆ ก็มีการพูดกันอยู่ในระยะหนึ่งว่าจะเปลี่ยนเพลงชาติไทย แต่ก็ไม่มีใครคัดค้านขึ้นมาเปลี่ยน สรุปว่าเราก็คงใช้เพลงชาติไทยในปัจจุบันนี้ ซึ่งทำนองเป็นของพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) และเนื้อร้องเป็นของหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ต่อมา ในปี พ.ศ. 2486 ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ก็มีผู้ที่สดุดีจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ก็กำหนดให้มีการแต่งเพลง “สดุดีพิบูลย์สงคราม” ขึ้น ได้มอบหมายให้ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) และขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) เป็นผู้แต่งเนื้อร้อง ซึ่งในสมัยนั้นเชื่อกันว่า เชื่อผู้นำแล้วชาติพ้นภัย เชื่อผู้นำแล้วชาติจะเจริญรุ่งเรือง ในสมัยนั้นจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เป็นผู้นำของชาติไทย ก็เลยมีเพลงคำนับท่าน เมื่อภาพยนตร์จะฉาย ก็จะมีภาพผู้นำขึ้นมา และมี “เพลงสดุดีพิบูลย์สงคราม” โดยอาจารย์พูนพิศ อมาตยกุล จึงได้มอบหมายนักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล นำไปบรรเลงและขับร้องใหม่ เพื่อเก็บเพลงชาติไทยในสมัยนี้ไว้ในห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเพทรัตน์ เพื่อไว้ศึกษาต่อไป ดังมีเนื้อร้องดังนี้ ไชโย วีรชนชาติไทย ตลอดสมัยที่ไทยมี ประเทศไทยคงชาตรี ด้วยคนดีผยองชัย ท่านผู้นำพิบูลย์สงคราม ขอเทิดนามให้เกริกไกร ขอดำรงคงคู่ชาติไทย นำชาติให้ไทยพ้นเทอญ หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 43 หัวเรื่อง : เพลงชาติไทย หัวเรื่อง : เพลงสดุดีพิบูลย์สงคราม หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลระยะแรกเริ่ม หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 43 ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล สถานที่จัดเก็บ : https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol-43/