ตอนที่130 เพลงไทยจากอดีต ในจังหวะลาตินอเมริกัน ตอนที่ 130 เพลงไทยสากลจากอดีตที่เริ่มนำจังหวะลาตินอเมริกันมาใช้ในเพลงไทยสากล ชื่อเพลง : เพลงแซมบ้าพารัก ผู้ขับร้อง : ขับร้องหมู่ ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล ผู้ประพันธ์ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน ชื่อเพลง : เพลงแซมบ้าหาคู่ ผู้ขับร้อง : เอื้อ สุนทร สนาน มัณฑนา โมรากุล วินัย จุลบุษปะ ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล ผู้ประพันธ์ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน ชื่อเพลง : เพลงจุฬาแซมบ้า ผู้ขับร้อง : ขับร้องหมู่ ผู้ประพันธ์คำร้อง : หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ผู้ประพันธ์ทำนอง : หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ และหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ ชื่อเพลง : เพลงเริงใจแซมบ้า ผู้ขับร้อง : ศรีสุดา รัชตะวรรณ ชื่อเพลง : เพลงรักคะนองคองก้า ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล และ วินัย จุลบุษปะ ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล ผู้ประพันธ์ทำนอง : เวช สุนทรจามร ชื่อเพลง : เพลงไทยเพื่อไทย ผู้ขับร้อง : คณะสุนทราภรณ์ ผู้ประพันธ์ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน ชื่อเพลง : เพลงโลกอลวน ผู้ขับร้อง : ศรีสุดา รัชตะวรรณ ชื่อเพลง : เพลงแมวกะหนู ผู้ขับร้อง : ศรีสุดา รัชตะวรรณ ความยาว : 46.31 นาที รายละเอียด : เพลงไทยสากลเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีแต่ทำนองล้วน และเมื่อมีต่างประเทศเข้ามาติดต่อกับไทยมากขึ้น เพลงแจ๊สก็ได้เข้ามาสู่ประเทศไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) แพร่หลายมากขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เพราะคนไทยที่กลับมาจากต่างปรเทศ เข้ามาเต้นรำ จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นักดนตรีไทยเริ่มแต่งเพลงแจ๊ส จนถึงปี พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชนิพนธ์เพลงแจ๊สในจังหวะบลู คือ “เพลงแสงเทียน” และมีเพลงจะสนุกๆ ที่ใช้ในการเต้นรำเรียกว่า “จังหวะบอลรูม” เพิ่มเข้ามาในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รู้จักกันในจังหวะแทงโก้ จังหวะวอลซ์ จังหวะควิกวอลซ์ จังหวะควิกสเต็บ จังหวะบีกิน จังหวะลุมบ้า ต่อมามีเพลงจังหวะลาตินอเมริกันเข้ามา พร้อมๆกับจังหวะสวิงของแจ๊ส เพลงในจังหวะลาติน 3 จังหวะ ได้แก่ จังหวะแซมบ้า จากประเทศบราซิล จังหวะกัวราช่า และจังหวะคองก้า โดยเฉพาะจังหวะแซมบ้า ซึ่งเป็นจังหวะที่เร็ว ใช้ลูกแซ็กเขย่า ผู้เต้นต้องออกเสต็ปที่เร็วมาก เท้าต้องไว จึงมีฉายา “ดาราเท้าไฟ” เกิดขึ้น เป็นที่นิยมเต้นกันอย่างมาก และได้มีการแต่งเพลงจะหวะแซมบ้าเป็นเพลงไทยสากล ประมาณปี พ.ศ. 2490-2493 “เพลงแซมบ้าพารัก” ขับร้องโดย ขับร้องหมู่ ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน สาวเอยชื่นเชยชิดใกล้ สาวเอยชื่นเชยชิดใกล้ มาเถิดชื่นใจ เร็วไวอย่าเพลินเสียงเพลง ชิดชวนยั่วยวนครื้นเครง ชิดชวนยั่วยวนครื้นเครง สื่อรักเราเองคือเพลงแซมบ้า แซมบ้าพารักสลักใจ แซมบ้าพารักสลักใจ พี่เพลินฤทัยขวัญใจ มองและยิ้มมา สองเราครื้นเครงด้วยเพลงพา สองเราครื้นเครงด้วยเพลงพา ชีวิตชีวาแซมบ้าพาชื่น ครื้นเครงด้วยเพลงแซมบ้า ครื้นเครงด้วยเพลงแซมบ้า มาเถิดแก้วตา เรามาเต้นตามเสียงเพลง ชิดชวนยั่วยวนครื้นเครง ชิดชวนยั่วยวนครื้นเครง สื่อรักเราเองคือเพลงแซมบ้า แซมบ้าพารักสลักใจ แซมบ้าพารักสลักใจ พี่เพลินฤทัยขวัญใจ มองและยิ้มมา สองเราครื้นเครงด้วยเพลงพา สองเราครื้นเครงด้วยเพลงพา ชีวิตชีวาแซมบ้าพาชื่น รักเอยชื่นเชยชิดใกล้ รักเอยชื่นเชยชิดใกล้ มาเถิดชื่นใจ เร็วไวอย่าเพลินเสียงเพลง ชิดชวนยั่วยวนครื้นเครง ชิดชวนยั่วยวนครื้นเครง สื่อรักเราเองคือเพลงแซมบ้า แซมบ้าพารักสลักใจ แซมบ้าพารักสลักใจ พี่เพลินฤทัยขวัญใจ มองและยิ้มมา สองเราครื้นเครงด้วยเพลงพา สองเราครื้นเครงด้วยเพลงพา ชีวิตชีวาแซมบ้าพาชื่น ครื้นเครงด้วยเพลงแซมบ้า ครื้นเครงด้วยเพลงแซมบ้า มาเถิดแก้วตา เรามาเต้นตามเสียงเพลง ชิดชวนยั่วยวนครื้นเครง ชิดชวนยั่วยวนครื้นเครง สื่อรักเราเองคือเพลงแซมบ้า แซมบ้าพารักสลักใจ แซมบ้าพารักสลักใจ พี่เพลินฤทัยขวัญใจ มองและยิ้มมา สองเราครื้นเครงด้วยเพลงพา สองเราครื้นเครงด้วยเพลงพา ชีวิตชีวาแซมบ้าพาชื่น “เพลงแซมบ้าหาคู่” ขับร้องโดย เอื้อ สุนทรสนาน มัณฑนา โมรากุล วินัย จุลบุษปะ ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน “เพลงจุฬาแซมบ้า” ขับร้องหมู่ ประพันธ์คำร้องโดย หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ประพันธ์ทำนองโดย หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ และหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ แผ่นเสียงโคลัมเบียหน้าสีม่วง บันทึกเสียงเมื่อปี พ.ศ. 2493 ช.+ญ. มาพวกเรา เหล่าจุฬา มาเถิดมา มาเต้นรำกัน มาแสดง แจงแบบระบำ เห็นแล้วจำ ไปร้องซิเล่า มาพวกเรา มาเต้นรำกัน มาประชัน เอ้า เอาก็เอา ผลัดกันนำ รำเถอะพวกเรา โอเค เอาซิเราเชิญชม ญ. แบบ แซม บ้า ช. นี่แบบ แซมบ้า ช+ญ. ระบำงามตา สวยงามหนักหนา น่านิยม ช. แบบ แซม บ้า ญ. เอ้าโปรด เชิญ ชม ช+ญ. สไตล์ นิยม สาวดาว ขำคม ชวนรำ พวกเรานี้ ชื่อระบิล อัศวิน การเต้น การรำ จะแสดง แจงแบบระบำ เห็นแล้วจำ ไปร้องซิเล่า มาพวกเรา มาเต้นรำกัน มาประชัน เอ้า เอาก็เอา ผลัดกันนำ รำเถอะพวกเรา โอเค เอาซิเราเชิญชม ญ. แบบ แซม บ้า ช. นี่แบบ แซมบ้า ช+ญ. ระบำ งามตา สวยงามหนักหนา น่านิยม ช. แบบ แซม บ้า ญ. เอ้าโปรด เชิญชม ช+ญ. สไตล์ นิยม สาวดาว ขำคม ชวนรำ ช+ญ. พวกเรานี้ มีชื่อระบิล อัศวิน การเต้น การรำ จะแสดง แจงแบบระบำ เห็นแล้วจำ ไปร้องซิเล่า มาพวกเรา มาเต้นรำกัน มาประชัน เอ้า เอาก็เอา ผลัดกันนำ รำเถอะพวกเรา โอเค เอาซิเราเชิญชม ญ. แบบ แซม บ้า ช. นี่แบบ แซมบ้า ช+ญ. ระบำ งามตา สวยงามหนักหนา น่านิยม ช. แบบ แซม บ้า ญ. เอ้าโปรด เชิญ ชม ช+ญ. สไตล์ นิยม สาวดาว ขำคม ชวนรำ ช. แบบ แซม บ้า ญ. เอ้าโปรด เชิญ ชม ช+ญ. สไตล์ นิยม สาวดาว ขำคม ชวนรำ “เพลงเริงใจแซมบ้า” ขับร้องโดย ศรีสุดา รัชตะวรรณ “เพลงรักคะนองคองก้า” ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล และ วินัย จุลบุษปะ ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย เวช สุนทรจามร เป็นเพลงจังหวะคองก้า “เพลงไทยเพื่อไทย” ขับร้องโดย คณะสุนทราภรณ์ ประพันธ์ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน เป็นเพลงปลุกใจจังหวะแซมบ้าของคณะสุนทราภรณ์ “เพลงโลกอลวน“ ขับร้องโดย ศรีสุดา รัชตะวรรณ “เพลงแมวกะหนู” ขับร้องโดย ศรีสุดา รัชตะวรรณ หัวเรื่อง : เพลงแซมบ้า หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 130 หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลระยะแรกเริ่ม หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 130 ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล สถานที่จัดเก็บ : https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol-130/