ตอนที่ 111 เพลงแต่งให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอนที่ 111 เพลงแต่งให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อเพลง : เพลงมหาจุฬาลงกรณ์ ผู้ขับร้องนำ : เพ็ญศรี พุ่มชูศรี และคณะสุนทราภรณ์ ผู้ประพันธ์คำร้อง : ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และสุภร พลชีวิน ผู้ประพันธ์ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเวศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิรา บรมนาถบพิตร ชื่อเพลง : เพลงดาวจุฬา ผู้ขับร้อง : วินัย จุลบุษปะ ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล ผู้ประพันธ์ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน ชื่อเพลง : เพลงขวัญใจจุฬา ขับร้องหมู่ : คณะสุนทราภรณ์ ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล ผู้ประพันธ์ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน ชื่อเพลง : เพลงจามจุรีศรีจุฬา ขับร้องหมู่ : คณะสุนทราภรณ์ ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล ผู้ประพันธ์ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน ชื่อเพลง : เพลงจุฬาบันเทิง ผู้ประพันธ์คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ผู้ประพันธ์ทำนอง : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ชื่อเพลง : เพลงจุฬาแซมบ้า ผู้ประพันธ์คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ผู้ประพันธ์ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน ชื่อเพลง : เพลงจุฬาของเรา ผู้ประพันธ์คำร้อง : ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ ผู้ประพันธ์ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน ชื่อเพลง : เพลงปราสาทแดง ผู้ขับร้อง : เอื้อ สุนทรสนาน ผู้ประพันธ์คำร้อง : ธาตรี วิชัย โกกิลกนิษฐ์ ผู้ประพันธ์ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน ชื่อเพลง : เพลงลาแล้วจามจุรี ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล ผู้ประพันธ์คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล ผู้ประพันธ์ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน ความยาว : 46.38 นาที รายละเอียด : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงสถาปนาขึ้น เมื่อปี 2460 โดยพระราชทานเงินที่คงเหลือจากเงินที่ประชาชนบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้า โดยพระราชทานที่ดินในเขตปทุมวันที่ตั้งของมหาวิทยาลัย และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก ณ ตึกอักษรศาสตร์ มีผู้แต่งเพลงให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก ทั้งเพลงไทยสากล เพลงในแนวทางฝรั่ง และเพลงแนวไทยเดิม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ 9) พระราชทานเพลงให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่ง อ. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ เล่าว่า เป็นเพลงพระราชนพินธ์ที่แตกต่างจากบทเพลงพระราชนิพนธ์อื่นๆ ทรงพระราชนิพนธ์เป็นเพลง 5 เสียง เพนทาโนนิค สเกล (Pentatonic Scale) ซึ่งจะสามารถปรับเป็นเพลงไทยเดิม หรือเป็นเพลงอื่นๆ ที่บรรเลงได้ง่าย โดยมีศิษย์เก่าเป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง 2 ท่าน คือ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และสุภร พลชีวิน คือเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ บรรเลงโดยวงดนตรีสุนทราภรณ์ ขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี จากแผ่นเสียงตรา อส. พระราชวังดุสิต และเป็นเพลงที่ เทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล ได้รับพระบรมราชานุญาตให้นำไปเปลี่ยนเป็นเพลงโหมโรงจุฬาลงกรณ์ได้โดยสะดวก “เพลงมหาจุฬาลงกรณ์” ขับร้องนำหมู่โดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี และคณะสุนทราภรณ์ ประพันธ์คำร้องโดย ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และสุภร พลชีวิน ประพันธ์ทำนองโดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเวศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิรา บรมนาถบพิตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้แนวทางของต่างประเทศในการคัดเลือกคนสวยคนงาม เดินนำแถวในกิจกรรมสำคัญต่างๆ เช่น ฟุตบอลประเภณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งเรียกว่า “ดาวจุฬา” จะทำการคัดเลือกจากน้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในมหาวิทยาลัย จะมีดาวจุฬาของคณะต่างๆ ซึ่งในยุคนั้นมีไม่กี่คณะ เช่น คณะอักษรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาบัตยกรรมศาสตร์ เป็นต้น ดาวจุฬาไม่จำเป็นต้องเป็นคนสวยอย่างเดียว ต้องเรียนเก่ง และมีมารยาทเรียบร้อยด้วย เมื่อคณะสุนทราภรณ์ ซึ่งในยุคนั้นยังเป็นวงดนตรีกรมโฆษณาการ เข้ามามีความสัมพันธ์กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเข้ามาบรรเลงเพลงให้นิสิตฟัง และที่สำคัญคือในวันรับปริญญาจะมาบรรเลงเพลงให้นิสิตที่จบใหม่เต้นรำบนฟลอร์ ก็จะแต่งเพลงให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย เพลงที่มีชื่อเสียงมากเพลงหนึ่งที่ครูเอื้อ สุนทรสนานเป็นผู้ประพันธ์ทำนอง และครูแก้ว อัจฉริยะกุล เป็นผู้ประพันธ์คำร้อง คือ “เพลงดาวจุฬา” วินัย จุลบุษปะ เป็นผู้ขับร้อง ในสมัยนั้นยังไม่มีการระมัดระวังเรื่องสรรพนาม ยังไม่มีสรรพนาม เธอ ฉัน ในยุคนั้น เช่น เห็นนางคนหนึ่งงามหรู สวยเป็นดาราที่รู้ทั่วไป คนยุคใหม่อาจคิดว่า คำว่านาง คือผู้หญิงที่มีสามีหรือคนที่แต่งงานแล้ว แต่คนยุคนั้นไม่ได้คิดกันเช่นนั้น หรือคำพูดว่า แม่งามอย่างงั้นแม่งามอย่างงี้ เช่นโสภาผ่องพรรณ แม่งามกว่าจันทร์เหมือนขวัญจุฬา หรือคำว่า แม่งามละมุน เกิดมาคู่บุญเนื้ออุ่นลาวัณย์ คำเหล่านี้ไม่ทันสมัยสำหรับยุคนี้ แต่เพลงเป็นยุคเก่าที่เกิดในปี 2488 – 2492 “เพลงดาวจุฬา” ขับร้องโดย วินัย จุลบุษปะ ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน “เพลงขวัญใจจุฬา” ขับร้องหมู่คณะสุนทราภรณ์ ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน เป็นเพลงไทยสากลแบบเก่า มีสร้อยนำมาก่อน แล้วมีเนื้อเพลงคั่น มีสร้อย และเนื้อเพลงคั่น “เพลงจามจุรีศรีจุฬา” ขับร้องหมู่คณะสุนทราภรณ์ ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน เป็นเพลงที่นำเอาดอกจามจุรี ต้นจามจุรี และฝักจามจุรี มาเป็นสัญญลักษณ์ว่ามีความหมายอะไรกับชาวจุฬา เริ่มต้นที่เดือนมิถุนายน จามจุรีมีใบเขียวสะพรั่ง เมื่อถึงกลางปีฝักจามจุรีก็หล่นลงพื้น พร้อมฤดูฝนทำให้ถนนลืน แล้วดอกจามจุรีก็ออกดอกในปลายปี ก่อนจะสอบไล่ (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์) มีผู้ตั้งคำถามกับเพลงนี้ว่า ทำไมถึงขึ้นต้นด้วยฝักจามจุรี และจบลงด้วยดอกจามจุรี ซึ่งควรจะขี้นต้นด้วยดอกจามจุรี แต่ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ที่มีความสามารถเป็นเลิศ สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของต้นจามจุรีว่าออกดอกในช่วงปลายปีการศึกษา ฝักหล่นในช่วงกลางปีการศึกษา ก็นำเอาธรรมชาติมาเป็นเครื่องบ่งชี้ของชาวจุฬาในยุคนั้น และแต่งเพลงจามจุรีศรีจุฬา “เพลงจุฬาบันเทิง” ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ “เพลงจุฬาแซมบ้า” ประพันธ์คำร้องโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ประพันธ์ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน “เพลงจุฬาของเรา” ประพันธ์คำร้องโดย ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ ประพันธ์ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน “เพลงปราสาทแดง” ขับร้องโดย เอื้อ สุนทรสนาน ประพันธ์คำร้องโดย ธาตรี วิชัย โกกิลกนิษฐ์ ประพันธ์ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน “เพลงลาแล้วจามจุรี” ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล ประพันธ์คำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ประพันธ์ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน นอกจากนี้ยังมีเพลงประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ “เพลงแดงเลือดหมู” ประพันธ์คำร้องโดย ธาตรี วิชัย โกกิลกนิษฐ์ ประพันธ์ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน เพลงประจำคณะเภสัชศาสตร์ ได้แก่ “เพลงดาราเภสัช” “เพลงเสน่ห์เภสัช” และ “เพลงรำวงเภสัช” ประพันธ์คำร้องโดย ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ ประพันธ์ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 111 หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลระยะแรกเริ่ม หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 111 ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล สถานที่จัดเก็บ : https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol111