ตอนที่ 102 ผลงานของนักแต่งเพลง สนิท ศ. ตอนที่ 1

ตอนที่ 102 ผลงานของนักแต่งเพลง สนิท ศ. ตอนที่ 1

ตอนที่ 102 ผลงานของนักแต่งเพลง สนิท ศ. ตอนที่ 1
ชื่อเพลง : เพลงริมฝั่งปิง
ผู้ขับร้อง : ทัศนัย ชะอุ่มงาม
ผู้ประพันธ์คำร้อง : สนิท ศ.
ชื่อเพลง : เพลงห้วยฝายหิน
ผู้ขับร้อง : ทัศนัย ชะอุ่มงาม
ผู้ประพันธ์คำร้อง : สนิท ศ.
ชื่อเพลง : เพลงวังบัวบาน
ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล
ผู้ประพันธ์คำร้อง : สนิท ศ.
ชื่อเพลง : เพลงอันเป็นที่รักแห่งดวงใจ
ผู้ขับร้อง : ทัศนัย ชะอุ่มงาม
ผู้ประพันธ์คำร้อง : สนิท ศ.
ชื่อเพลง : เพลงม่านชีวิต
ผู้ขับร้อง : ทัศนัย ชะอุ่มงาม
ผู้ประพันธ์คำร้อง : สนิท ศ.
ชื่อเพลง : เพลงห่วงอาวรณ์
ผู้ขับร้อง : ทัศนัย ชะอุ่มงาม
ผู้ประพันธ์คำร้อง : สนิท ศ.
ชื่อเพลง : เพลงโชคมนุษย์
ผู้ขับร้อง : ทัศนัย ชะอุ่มงาม
ผู้ประพันธ์คำร้อง : สนิท ศ.
ชื่อเพลง : เพลงยอดสน
ผู้ขับร้อง : ทัศนัย ชะอุ่มงาม
ผู้ประพันธ์คำร้อง : สนิท ศ.
ชื่อเพลง : เพลงดอกบัว
ผู้ขับร้อง : ทัศนัย ชะอุ่มงาม
ผู้ประพันธ์คำร้อง : สนิท ศ.
ความยาว : 46.18 นาที
รายละเอียด : สนิท ศ. หรือชื่อจริง สนิท ศิริวิสูตร เกิดที่ห้องแถวในตรอก “เล่งโจ๊ว” ใกล้ตลาดวโรรส อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2467 บิดาชื่อ ไฮซิ่ว มารดาชื่อ คำนวล เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียนจีนฮั่วเอง และโรงเรียนคำเที่ยงอนุสรณ์ ไปศึกษาต่อชั้นประถมปีที่ 4 และชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนปริ๊นส์รอย ถึงชั้นมัธยมปีที่ 2 และไปเรียนต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 สนิท ศ. มีความตั้งใจที่จะศึกษาต่อในโรงเรียนเพาะช่าง หรือ สถาปัตย์ต่อ แต่เนื่องจากอยู่ไกลจากกรุงเทพฯ มากและมีปัญหาเรื่องทุนเรียนต่อ จึงไปเป็นครูที่โรงเรียนบูรณศิลป์ สอนอยู่ได้เพียงเทอมเดียวรู้สึกไม่ถูกใจ ก็เข้าทำงานเป็นพนักงานธนาคารออมสิน สาขาจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโอกาสที่ได้เข้าสู่วงการเพลง เพราะธนาคารออมสินสาขาจังหวัดเชียงใหม่นั้นสนใจดนตรี ต่อมาย้ายไปทำงานที่ธนาคารออมสิน สาขาป่าซาง จังหวัดลำพูน ต่อมา สนิท ศ. ได้ลาออกจากธนาคารออมสิน สาขาป่าซาง และได้ไปทำงานที่โรงเพิมพ์พุทธนิคม เชียงใหม่ ในตำแหน่งผู้ช่วยบรรณาธิการนิตยสารชาวพุทธ สนิท ศ. รักงานหนังสือพิมพ์มาก เคยเป็นผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย และสยามนิกร ประจำจังหวัดเชียงใหม่ เคยเป็นบรรณาธิการนิตยสารนิรามัยและเสียงเวฬุวัน และธรรมมาธิตสาร หนังสือพิมพ์ไทยเดิมรายวันข่าวเหนือ เป็นต้น สำหรับทางด้านดนตรีนั้น ชอบร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก ตามประวัติเล่าว่าเคยหนีห้องเรียนวิชาลูกคิดซึ่งเป็นวิชาเกี่ยวกับการค้า  และแอบไปดูนักเรียนชั้นสูงกว่าเรียนวิชาดนตรี และมักแอบเข้าไปเล่นออร์แกนในห้องประชุมของโรงเรียน เริ่มต้นแต่งบทกวีขณะเรียนมัธยมปีที่ 3 ขณะเรียนอยู่ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ฝึกแต่งเพลงขณะเรียนมัธยมศึกษาปีที่  4 เพลงแรกชื่อ “เพลงฟ้าจันทร์ฉันเธอ” ได้แต่งเพลงไว้ 627 เพลง ด้วยเป็นชาวเชียงใหม่ห้วงคำนึงของ สนิท ศ. คือเพลงจังหวะพื้นเมือง ที่สะท้อนมาในผลงานที่มอบให้ ทัศนัย ชะอุ่มงาม ขับร้อง คือ “เพลงริมฝั่งปิง” และ “เพลงห้วยฝายหิน”
“เพลงริมฝั่งปิง” ขับร้องโดย ทัศนัย ชะอุ่มงาม ประพันธ์คำร้องโดย สนิท ศ. ซึ่งแต่งให้กับนักเรียนพยาบายโรงพยาบาลแมคคอร์มิก จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ 19 ธันวาคม 2493 เป็นเพลงประกอบในละครเดือนดับที่ฝั่งปิง
คู่กับ “เพลงที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์” ซึ่งแต่งเมื่อปี 2493 ขับร้องโดย ทัศนัย ชะอุ่มงาม
“เพลงห้วยฝายหิน” ขับร้องโดย ทัศนัย ชะอุ่มงาม ประพันธ์คำร้องโดย สนิท ศ.
“เพลงวังบัวบาน” ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล ประพันธ์คำร้องโดย สนิท ศ. เมื่อแต่งเสร็จแล้วก็ส่งให้ พจน์ จารุวณิช หัวหน้าคณะจารุกนก เพื่อใช้ประกอบละครวิทยุ คุณพจน์ เห็นว่าเหมาะกับ มัณฑนา โมรากุล ขับร้อง ก็ออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง และต่อมาก็บันทึกแผ่นเสียง จนถึงปัจจุบันมีผู้นำมาร้องหลายคน
สนิท ศ. มีความปราณีตเป็นอย่างยิ่ง  เมื่อสมัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ นิยมกวีนิพนธ์ของสุนทรภู่ และศรีปราชญ์ เป็นอย่างยิ่ง ได้เห็นถึงความปราณีต ความลึกซึ้ง ดื่มด่ำในรจนาโวหาร และเรื่องราวตลอดคติธรรมต่างๆ เป็นที่ประจักษ์ ประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ทุกครั้งที่แต่งเพลงมีความปรารถนาให้ทุกคนเห็นภาพที่ปรากฎอยู่ในฉาก ตามสภาพความเป็นจริงที่ผมมองเห็น อยากให้ผู้ฟังได้ชื่นชอบและเหตุการณ์เรื่องราวที่ผมพรรณนา อยากให้ผู้ฟังมีมโนธรรมที่สูงส่งตามมโนธรรมที่ผมได้แทรกไว้ อยากให้ผู้ฟังได้รับรสดื่มด่ำท่วงทำนองที่ผมเรียบเรียงจากรสนิยม จากความรู้สึกต่างๆ ที่ผมเจาะจงใส่ไว้ในบทเพลง จากข้อความที่ สนิท ศ. ได้เขียนไว้ แสดงให้เห็นว่าเพลงวังบัวบานนั้นได้ถ่ายทอดสิ่งที่งดงามจากมหาเวสสันดรชาดก ปรับออกมาเป็นบทร้องเพลงไทยสากล บรรยายให้เห็นภาพของบัวบาน นางเอกของเรื่องที่กระโดดน้ำตาย เพราะพลาดรักจากชายที่ตนรัก
เอาวังน้ำไหลเย็น
นี่หรือมาเป็นเมรุทอง
เอาน้ำตกก้องเป็นกลองประโคม
เอาเสียงจักจั่นลั่นร้องระงม
เป็นเสียงประโคมร้องต่างแตรสังข์
เพดานนั้นเอาเมฆฟ้า
ภูผานั้นต่างม่านบัง
ประทีปแสงจันทร์ใสสว่าง
อยู่เดียวท่ามกลางดงดอน
ในด้านของความรัก ผู้ประพันธ์เพลงส่วนใหญ่มักจะประพันธ์เพลงอะไรบางอย่างที่เกี่ยวกับผู้หญิงที่ตนรัก สนิท ศ. เล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 2493 ได้พบผู้หญิงที่รัก และในปี พ.ศ. 2495 ก็ได้สลัดรักไป จากนั้น 1 ปี ก็ได้แต่งเพลงเพื่อระรึกถึงเธอ คือ “เพลงอันเป็นที่รักแห่งดวงใจ”
“เพลงอันเป็นที่รักแห่งดวงใจ” ขับร้องโดย ทัศนัย ชะอุ่มงาม ประพันธ์คำร้องโดย สนิท ศ.
ในปี พ.ศ. 2491 ได้พบกับละครของประเทศเวียดนาม ที่มาตระเวณแสดงในจังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้แต่งเพลงขึ้นทั้งบทร้องและทำนองให้กับคณะละคร ทั้งหมด 24 เพลง และมีความรักกับดาราละครคนหนึ่ง และเมื่อจะจากกัน ก็ได้แต่ง “เพลงม่านชีวิต” เพื่อปลอบประโลมใจดาราละครคนนั้น และปลอบใจตัวเอง ที่ต้องแยกจากกัน ที่เหมือนมีบ้านแล้วมีม่านบังชีวิตอยู่ และจะคอยจนกว่าท้องฟ้าจะแจ่มใส เมื่อเมฆม่านกระจายไปแล้วเผื่อจะได้พบกันอีกครั้ง แต่ก็ไม่ได้บอกว่าได้พบกันหรือไม่
“เพลงม่านชีวิต” ขับร้องโดย ทัศนัย ชะอุ่มงาม ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย สนิท ศ.
“เพลงห่วงอาวรณ์” ขับร้องโดย ทัศนัย ชะอุ่มงาม ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย สนิท ศ. แต่งให้กับเพื่อนที่เป็นทหารออกจากค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่ ไปรับราชการที่อื่น สนิท ศ. จึงแต่งเพลงให้
นักประพันธ์เพลงจะนำปรัชญาชีวิตมาเขียนเป็นผลงาน เช่นเดียวกับ สนิท ศ. ได้นำปรัชญาชีวิต เกิด แก่ เจ็บ ตาย ร้าย ดี ซึ่งแรงบันดาลใจนี้เกิดขึ้นจากคณะละครชาวเวียดนามเดินทางไปถึงจังหวัดพิจิตร และเกิดอุบัติเหตุเรือล่ม สูญเสียทรัพย์สิน และชีวิตนางเอกละคร และชาวคณะอีกหลายคน ทำให้ สนิท ศ. รู้สึกสะเทือนใจกับบรรดาเพื่อนศิลปินที่จากไป จึงได้แต่งเพลงชื่อ “เพลงโชคมนุษย์”
“เพลงโชคมนุษย์” ขับร้องโดย ทัศนัย ชะอุ่มงาม ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย สนิท ศ.
 “เพลงยอดสน” ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย สนิท ศ. “เพลงยอดสน” ในจังหวะสโลว์ ฟอกซ์ทรอท (Slow Foxtrot) เมื่อส่งมาจากเชียงใหม่ พจน์ จารุวณิช ก็บันทึกเสียง โดยให้ มัณฑนา โมรากุล เป็นผู้ขับร้อง ธงชัย ฉัตรานนท์ ผู้อนุรักษ์เพลงยอดสน บันทึกไว้ว่า สนิท ศ. เป็นนักประพันธ์เพลงชาวเชียงใหม่ ส่งเพลงมาที่ พจน์ จารุวณิช หัวหน้าคณะจารุกนก ให้คุณมัณฑนา โมรากุล ร้องอัดเสียง ก็เป็นที่นิยมฟังในเวลารวดเร็ว ต่อมามีผู้นำเพลงนี้มาร้องใหม่ เปลี่ยนจังหวะไปทำให้ท่วงทำนองไม่น่าฟังอย่างเดิม
ในสมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม พ.ศ. 2491 นิยมเรียกผู้หญิงว่า ดอกไม้ของชาติ และดอกบัวถือเป็นดอกไม้ประจำชาติ ผู้หญิงจึงควรจะงามเหมือนดอกบัว สนิท ศ. จึงได้แต่งเพลงดอกบัวขึ้นมา นำไปขับร้องประกวดถ้วยทองคำของ จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ได้รับรางวัลชนะเลิศฝ่ายหญิง เมื่อปี พ.ศ. 2492 ซึ่งเป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงอย่างมากให้กับ ทัศนัย ชะอุ่มงาม
“เพลงดอกบัว” ขับร้องโดย ทัศนัย ชะอุ่มงาม ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย สนิท ศ.
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 102
หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลระยะแรกเริ่ม
หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 102
ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล
สถานที่จัดเก็บ :  https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol-102/