ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายนัฐพงศ์ โสวัตร

ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายนัฐพงศ์ โสวัตร

 

ครูนัฐพงศ์ โสวัตร

เริ่มเข้ารับการศึกษา ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๔ ที่โรงเรียนบ้านคู้คด วัดขนอน ตําบลหนองน้ําส้ม อําเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากนั้นได้สอบเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียน ดุริยางค์ทหารเรือ และได้ย้ายมาศึกษาต่อที่วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร จนสําเร็จการศึกษา

ครูนัฐพงศ์ โสวัตร เริ่มเข้ารับการศึกษา ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๔ ที่โรงเรียนบ้านคู้คด วัดขนอน ตําบลหนองน้ําส้ม อําเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากนั้นได้สอบเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียน ดุริยางค์ทหารเรือ ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาต่อที่วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และสําเร็จการศึกษาปริญญาโท มหาบัณฑิตทางดนตรีรุ่นแรกของประเทศไทย สาขาวัฒนธรรมศึกษา ( แขนงวัฒนธรรมการดนตรี )
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย )

เนื่องด้วยครูชุบ โสวัตรบิดาของครูนัฐพงศ์ เป็นนักดนตรีไทยและมีวงดนตรีไทยเป็นของตนเอง เพราะ เป็นครอบครัวที่สืบเชื้อสายนักดนตรีไทยมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทั้งปู่ขัน , ปูุ่หลง และปู่บุญธรรม โสวัตร ครูจึง ได้รับการถ่ายทอดทักษะด้านดนตรีไทยจากบิดามาตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่อสําเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา บิดาจึงส่งเข้ามาศึกษาต่อด้านดนตรีไทย ในโรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ แต่เนื่องด้วยมีนักเรียนจํานวนน้อย ไม่เพียงพอต่อการรวมวง ครูนัฐพงศ์จึงถูกย้ายไปเรียนดนตรีสากล จึงทําให้ครูนัฐพงศ์ มีความสามารถในการ สีไวโอลินและบันทึกโน้ตสากลได้เป็นอย่างดี แต่ด้วยความสามารถด้านดนตรีไทยที่มีอยู่ในสายเลือด ครูนัฐพงศ์ ตัดสินใจ ย้ายมา ศึกษา ต่อในระดับ ชั้นกลาง ที่วิทยาลัยนาฏศิลปกรมศิลปากร ภายใต้คําแนะนําของคุณครูประสิทธิ์ ถาวร และได้รับการถ่ายทอดทักษะการตีระนาดเอก ตลอดจนแนวคิดทฤษฎีทางด้านดนตรีไทย จนกระทั่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในและนอกวงการดนตรีไทย ภายใต้ชื่อ “เฉียบ” นักระนาดผู้มีฝีมือ ศิษย์เอกครูประสิทธิ์ ถาวร
ครูนัฐพงศ์ เป็นผู้ที่ให้ความสําคัญกับการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง มีความสนใจในการศึกษาเครื่องดนตรี อื่น ๆ และได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทั้งในด้านปี่พาทย์ เครื่องสายและคีตศิลป์จากคุณครูผู้มีชื่อเสียงหลาย ท่าน เช่น ครูเชื้อ ดนตรีรส , ครูมนตรี ตราโมท , ครูบาง หลวงสุนทร , ครูสอน วงฆ้อง , ครูเทียบ คงลายทอง ครูพริ้ง กาญจนผลิน , ครูโม ปลื้มปรีชา , ครูเตือน พาทยกุล , ครูเจียน มาลัยมาลย์ , ครูประเวช กุมุท ครูจิรัส อาจณรงค์ , ครูท้วม ประสิทธิกุล , ครูลิ้นจี่ จารุจรณ , ครูจิ้มลิ้ม กุลตัณฑ์ , ครูทองดี สุจริตกุล และ ครูหลวงไพเราะเสียงซอ ( อุ่น ดูรยชีวิน ) เป็นต้น
ความรู้ทั้งด้านศาสตร์และศิลป์ ของครูนัฐพงศ์เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม ประกอบกับการประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นที่ไว้วางใจจากครู ผู้อาวุโสในวิชาชีพดนตรีไทย จึงได้รับการครอบประสิทธิ์ประสาทให้เป็น ผู้ประกอบพิธีไหว้ครูหรือผู้อ่านโองการในพิธีไหว้ครูดนตรีไทย จากคุณครูมนตรี ตราโมท ณ บ้านโสมส่องแสง เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยมีผู้ได้รับมอบโองการพิธีไหว้ครูดนตรีไทยจากครูมนตรี ตราโมท ร่วมกันอีกจํานวน ๔ ท่าน ดังนี้
(๑) ครูสังเวียน ทองคํา (๒) ครูยงยศ วรรณมาศ (๓) ครูบุญช่วย โสวัตร (๔) ครูธงชัย ถาวร
นอกจากนี้ครูนัฐพงศ์ ยังได้รับการสืบทอดให้เป็นประธานอ่านโองการพิธีไหว้ครูดนตรีไทย จาก ครูประสิทธิ์ ถาวร ที่ได้รับมอบจากคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง บุตรีของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙