ตอนที่ 132 เพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 ตอนที่ 1 ตอนที่ 132 เพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 ตอนที่ 1 ชื่อเพลง : เพลงแสงเทียน ผู้ขับร้อง : เอื้อ สุนทรสนาน นำหมู่หญิง ชวลี ช่วงวิทย์ มัณฑนา โมรากุล และคนอื่นๆ ผู้ประพันธ์คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ผู้ประพันธ์ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ชื่อเพลง : เพลงยามเย็น ผู้ขับร้อง : ประหยัด ไทยศิริ ผู้ประพันธ์คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ผู้ประพันธ์ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ชื่อเพลง : เพลงสายฝน บรรเลงโดย : วงออเคสตร้า กองดุริยางค์ กรมศิลปากร ชื่อเพลง : เพลงดวงใจกับความรัก ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล ผู้ประพันธ์คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ผู้ประพันธ์ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ชื่อเพลง : เพลงสายฝนสวิง ผู้ขับร้อง : เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ผู้ประพันธ์คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ผู้ประพันธ์ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ชื่อเพลง : เพลงเทวาพาคู่ฝัน ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล ผู้ประพันธ์คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ผู้ประพันธ์ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ชื่อเพลง : เพลงเทวาพาคู่ฝัน ผู้ขับร้อง : นภา หวังใน ผู้ประพันธ์คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ผู้ประพันธ์ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ชื่อเพลง : เพลงคำหวาน ผู้ขับร้อง : ชวลี ช่วงวิทย์ ผู้ประพันธ์คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ผู้ประพันธ์ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ความยาว : 46.18 นาที รายละเอียด : เพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นคีตกวีที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก ซึ่งไม่เคยมีใครทราบกันมาก่อนเลยว่า ตั้งแต่ทรงเป็นพระอนุชาธิราชในรัชกาลที่ 8 นั้น ทรงสนพระทัยในดนตรี และทรงพระราชนิพนธ์เพลงแล้ว จนกระทั่ง พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ได้เข้าเฝ้าเมื่อครั้งเสด็จนิวัติพระนคร เมื่อปี พ.ศ. 2489 พร้อมครูเอื้อ สุนทรสนาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงรับสั่งถามว่า เมืองไทยในปัจจุบันมีการเล่นเพลงแจ๊สประเภทบลูส์ บ้างหรือไม่ ทั้งสองท่านก็แสดงอาการงงๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงมีรับสั่งว่าให้ไปถามสมเด็จพระอนุชาธิราช คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งมีพระชันษา ประมาณ 18-19 ปี ว่างเพลงแจ๊สประเภทเพลงบลูส์นั้นเป็นเช่นไร ทั้งสองท่านได้รับคำอธิบายว่าเป็นเพลงแจ๊สประเภทหนึ่งที่ใหม่มากในยุคนั้น และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไว้แล้วจำนวนหนึ่ง ก็จะทดลองบรรเลง จึงนำวงดนตรีกรมโฆษณาการเข้าไปถวายยังที่ประทับในพระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง คุณมัณฑนา โมรากุล และคุณชวลี ช่วงวิทย์ ได้ถ่ายทอดให้อาจารย์พูนพิศ อมาตยกุล ว่าในคืนวันที่ 8 มิถุนายน 2489 นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ครั้งยังเป็นพระอนุชา ได้เสด็จลงทรงดนตรีกับวงของกรมโฆษณาการ ทรงแซกโซโฟนบ้าง ปี่คลาริเน็ตบ้าง จนดึก ได้มีการทดลองเพลงพระราชนิพนธ์ แต่ยังไม่เป็นที่พอพระทัย ประกอบกับวงของกรมโฆษณาการก็ยังบรรเลงเพลงประเภทนี้ยังไม่เก่ง แต่ก็ได้ทำให้ทราบว่าได้พระราชนิพนธ์เพลงไว้บ้างแล้ว และในวันถัดมา วันที่ 9 มิถุนายน 489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตด้วยอุบัติเหตุพระแสงปืน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ก็ได้เสด็จขึ้นครองพระราชสมบัติ ในราชวงจักรี ในลำดับที่ 9 ตามพระราชประวัติที่พระราชนิพนธ์เพลงๆ แรกที่ทรงพระราชนิพนธ์คือ “เพลงแสงเทียน” เพลงที่สองคือ “เพลงยามเย็น” ทั้งสองเพลงเมื่อลองบรรเลงแล้วยังไม่พร้อมที่จะนำออกเผยแพร่ออกสู่ประชาชน เพลงที่สามคือ “เพลงสายฝน” จึงได้นำออกสู่ประชาชน ทำให้ประชาชนทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ เพลงที่สี่คือ “เพลงใกล้รุ่ง” ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์และพระราชทานให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในงานแสดงสินค้าและพืชผักสวนครัว แต่ยังไม่มีการอัดแผ่นเสียง จนถึงปี พ.ศ. 2492 หม่อมเจ้าจักรพันธ์ เพ็ญศิริจักรพันธ์ ในขณะนั้น นำเรื่องมาปรึกษาว่าควรจะบันทึกแผ่นเสียง ซึ่งมีห้างแผ่นเสียงเปิดใหม่คือห้างแผ่นเสียงนำไทย เป็นแผ่นเสียงของห้าง His Master’s Voice แผ่นเสียงตราสุนัขหน้าสีเขียว ซึ่งมีคุณประไพ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นเจ้าของวงดนตรีที่บันทึกลงแผ่นเสียง และทำหน้ากระดาษใหม่ปิดหน้าแผ่นเสียงเป็นสีขาวลายทองสวยงาม บันทึกทั้งหมด 4 เพลง จำนวน 2 แผ่น ปรากฏว่าขายดีมาก แต่ประชาชนก็ยังไม่เข้าใจเพลงพระราชนิพนธ์อยู่ดี บอกว่าร้องยากบ้าง เสียงสูงไปบ้าง แต่ก็มีคนพยายาม “เพลงแสงเทียน” ขับร้องโดย เอื้อ สุนทรสนาน นำหมู่หญิง ชวลี ช่วงวิทย์ มัณฑนา โมรากุล และคนอื่นๆ ขับร้องเป็นลูกคู่ ประพันธ์คำร้องโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ประพันธ์ทำนองโดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ต่อมาบริษัทต่างๆ ขอพระบรมราชานุญาตบันทึกแผ่นเสียง บริษัท ต. เง๊กชวน (แผ่นเสียงตรากระต่าย) บันทึกเสียงถวาย โดยมีวงดนตรีสากลกองทัพอากาศ ขับร้องโดย ประหยัด ไทยศิริ เมื่อปี พ.ศ. 2492 “เพลงยามเย็น“ ขับร้องโดย ประหยัด ไทยศิริ ประพันธ์คำร้องโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ประพันธ์ทำนองโดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช การบันทึกแผ่นเสียงในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เลิกใหม่ ๆ นั้น คุณภาพเสียงยังไม่ดีนัก และประชาชนไทยยังไม่คุ้นเคยกับเพลงที่ร้องยากๆ โดยเฉพาะเพลงพระราชนิพนธ์ยามเย็น ในการประสานเสียง หรืออื่นๆ คุณภาพไม่ได้ตามจุดมุ่งหมาย จึงต้องปรับวงกรมโฆษณาการ เพื่อเตรียมเพลงพระราชนิพนธ์ ในปี พ.ศ. 2493 ซึ่งเป็นปีที่พระราชดำเนินนิวัติประเทศไทย เพื่อเตรียมการราชาภิเษกสมรส “เพลงสายฝน” บรรเลงโดย วงออเคสตร้า กองดุริยางค์ กรมศิลปากร เป็นแผ่นเสียงที่กรมโฆษณาการอัดเพื่อใช้บรรเลงชั่วคราว เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จนิวัติพระนคร และราชาภิเษกสมรสนั้น มีเพลงพระราชนิพนธ์ออกมาอีกหลายเพลง เพลงที่มีชื่อเสียงมากคือ “เพลงดวงใจกับความรัก” ซึ่งคุณมัณฑนา โมรากุล เล่าว่าได้ขับร้องถวายเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493 ก่อนวันราชาภิเษกสมรส 1วัน ในวันนั้นทรงเสด็จลงและทรงฟังการขับร้องของวงกรมโฆษณาการ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในการขับร้องสด ทุกคนมีความชื่นใจในเพลงนี้มาก เนื่องรู้ว่าทรงพระราชนิพนธ์เพลงนี้ในขณะที่ทรงกำลังมีความรัก ในขณะเดียวกันในวงการการขับร้องบอกว่าร้องยากเหลือเกิน ต้องใช้พลัง และเสียงมาก ใช้เครื่องเสียงเยอะ ยากที่จะผันเสียงตามได้ ต้องคนที่ขับร้องเพลงเก่งจริงๆ มัณฑนา โมรากุล จึงได้รับมอบให้ขับร้อง “เพลงดวงใจกับความรัก” ลงแผ่นเสียงตรากระต่าย ของห้าง ต. เง็กชวน ออกเผยแพร่ เมื่อปี พ.ศ. 2494 เป็นแรงจูงใจให้คนไทยสมัยนั้นหันมาสนใจและฝึกร้องเพลงพระราชนิพนธ์ จนสำเร็จ เนื่องจากแผ่นเสียงในสมัยก่อนมีข้อกำหนดเรื่องเวลาต้องร้องให้จบภายใน 3 นาที ไม่เกิน 3 นาที ครึ่ง โอกาสที่จะบรรเลงหรือร้องเกินเวลาไม่สามารถทำได้ ทำให้เพลงไม่ไพเราะเท่าการบรรเลงสดบนเวที “เพลงดวงใจกับความรัก” ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล นักเต้นรำในยุคนั้น หันมาสนเป็นอย่างมาก เมื่อครูเอื้อ สุนทรสนาน ได้นำเพลงสายฝน มาทำเป็นจังหวะสวิง และมอบให้เพ็ญศรี พุ่มชูศรี เป็นผู้ขับร้อง แผ่นโคลัมเบีย หน้าสีน้ำเงิน ในปี พ.ศ. 2494 เป็นที่นิยมของนักเต้นรำเป็นอย่างมาก ทำให้เพลงเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ “เพลงสายฝนสวิง” ขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ประพันธ์คำร้องโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ ประพันธ์ทำนองโดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช เพลงพระราชนิพนธ์เกิดเมื่อ ปี พ.ศ. 498-2499 เพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกคือ “เพลงแสงเทียน” บริษัทที่บันทึกแผ่นเสียงบริษัทแรกคือ ห้างแผ่นเสียงนำไทย เป็นแผ่นเสียงตราสุนัข ทางบริษัทได้จัดพิมพ์กระดาษปะหน้าแผ่นเสียงด้วยกระดาษสีขาว ตัวอักษรสีทอง เรียกว่าแผ่นเสียงหมาขาว ต่อมาก็เป็นแผ่นเสียงตรากระต่ายหน้าสีน้ำเงิน ซึ่งขับร้องโดย ประหยัด ไทยศิริ และมัณฑนา โมรากุล คือเพลงดวงใจกับความรัก แล้วมาถึงเพลงแผ่นดิบ ที่กรมศิลปากรบรรเลงให้กรมโฆษณาการ เพื่อออกอากาศ จนกระทั่งถึงยุคของแผ่นโคลัมเบียหน้าสีน้ำเงิน “เพลงสายฝนสวิง” ที่เพ็ญศรี พุ่มชูศรี กลับมาร้องกับกรมโฆษณาการอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2494 เพลงพระราชนิพนธ์ที่ มัณฑนา โมรากุล ร้องอีกเพลง ได้แก่ “เพลงเทวาพาคู่ฝัน” ซึ่งเป็นเพลงที่ร้องถวายที่สนามหญ้าในวันราชาภิเษกสมรส “เพลงเทวาพาคู่ฝัน” ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล ประพันธ์คำร้องโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ ประพันธ์ทำนองโดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช แผ่นเสียงต้นฉบับ ปี พ.ศ. 2493 และออกเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2494 แผ่นเสียงโคลัมเบียหน้าสีน้ำเงิน ในการอัดแผ่นเสียงครั้งนี้นั้น ผู้ขับร้องร้องไกลไมโครโฟน ทำให้เสียงไม่โดดเด่นเท่าที่ควรจะเป็น เสียงดนตรีกระหึ่มมากลบเป็นช่วงๆ ซึ่งแก้ไขได้ยาก ในขณะเดียวกันที่กรมศิลปากร มีพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยากร) เป็นหัวหน้าวง The Royal Thai Symphony Orchestra นำเพลงพระราชนิพนธ์มาบรรเลงและขับร้อง โดยมอบให้ นภา หวังในธรรม ขับร้อง บรรเลงโดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร โดยใช้คีย์การขับร้องที่สูงกว่าเดิม “เพลงเทวาพาคู่ฝัน” ขับร้องโดย นภา หวังในธรรม ในปี พ.ศ. 2494 ต้นฉบับ ประพันธ์คำร้องโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ประพันธ์ทำนองโดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช “เพลงคำหวาน” ขับร้องโดย ชวลี ช่วงวิทย์ ประพันธ์คำร้องโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ ประพันธ์ทำนองโดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช หัวเรื่อง : เพลงพระราชนิพนธ์ หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 132 หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลระยะแรกเริ่ม หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 132 ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล สถานที่จัดเก็บ : https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol-132/