ตอนที่ 107 ผลงานการขับร้องเพลงของนริศ อารีย์ ตอนที่ 1 ตอนที่ 107 ผลงานการขับร้องเพลงของนริศ อารีย์ ตอนที่ 1 ชื่อเพลง : เพลงเชียงใหม่ ผู้ขับร้อง : นริศ อารีย์ ผู้ประพันธ์คำร้อง : ไสล ไกรเลิศ ผู้ประพันธ์ทำนอง : ทำนองจากเพลงม่านมุ้ยเชียงตา ชื่อเพลง : เพลงเอื้องเวียงดอย ผู้ขับร้อง : นริศ อารีย์ และ เอมอร วิเศษสุด ผู้ประพันธ์คำร้อง : ไพบูลย์ บุตรขัน วงดนตรี : วงเจือ รังแรงจิตร ชื่อเพลง : เพลงสาวไกลเวียง ผู้ขับร้อง : นริศ อารีย์ ผู้ประพันธ์คำร้อง : ไพบูลย์ บุตรขัน ผู้ประพันธ์ทำนอง : ประสิทธิ์ พยอมยงค์ ชื่อเพลง : เพลงบุหงาบาหลี ผู้ขับร้อง : นริศ อารีย์ ผู้ประพันธ์คำร้อง : สมาน เมธากุล ชื่อเพลง : เพลงดวงจิต ผู้ขับร้อง : นริศ อารีย์ และ วรนุช อารีย์ ผู้ประพันธ์คำร้อง : ประจิต เกษกุฎี ชื่อเพลง : เพลงดวงใจ ผู้ขับร้อง : นริศ อารีย์ ผู้ประพันธ์คำร้อง : ป. ชื่นประโยชน์ ผู้ประพันธ์ทำนอง : มงคล อมาตยกุล ชื่อเพลง : เพลงดวงใจรัญจวน ผู้ขับร้อง : นริศ อารีย์ ผู้ประพันธ์คำร้อง : ไพบูลย์ บุตรขัน ผู้ประพันธ์ทำนอง : พิมพ์ พวงนาค ความยาว : 46.35 นาที รายละเอียด : นริศ อารีย์ เป็นชาวกรุงเทพฯ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2473 จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดบพิตรพิมุข มีพี่สาว 1 คน คือ วรนุช อารีย์ ประจำที่วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ตามประวัติเล่าว่าในขณะที่เรียนคะแนนการสอบขับร้องเพลงไทย ทำคะแนนได้ไม่ดี แต่ถ้าสอบขับร้องเพลงไทยสากล มักทำคะแนนได้ดี ต่อมาได้เป็นตัวแทนของโรงเรียนวัดบพิตรพิมุข ไปประกวดการขับร้องเพลงไทยสากล ก็ได้รางวัลอยู่เสมอๆ แม้ไม่ได้รางวัลชนะเลิศ ยึดแนวการขับร้องเพลงของ วินัย จุลบุษปะ และ มัณฑนา โมรากุล เป็นแบบอย่าง ซึ่งเป็นต้นแบบที่ดี แต่ก็ไม่ค่อยมีโอกาสได้แสดงความสามารถในการขับร้องมากนัก จนกระทั่งถึงสมัยที่มีการประกวดการขับร้องเพลงตามงานวัดต่างๆ หลังสงครามโลกครั่งที่ 2 เลิกแล้ว คือระหว่างปี พ.ศ. 2489 – 2492 นริศ อารีย์ ก็ไปประกวด และไม่เคยพลาดที่จะได้รับรางวัล แต่ไม่เคยได้รางวัลชนะเลิศเลย จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนัก ชื่อที่ใช้ในการประกวด คือ ร. ดาวรุ่ง การประกวดในบางครั้งก็ไปพบกับนักร้องมือวางอันดับหนึ่ง เช่น เหยี่ยวพระยา คือ ชาญ เย็นแข หรือ ผู้ใช้นามแฝงว่า ล. ลูกทุ่ง คือ เลิศ ผสมทรัพย์ ก็จะไม่ได้รางวัลที่ 1 หรือ 2 อย่างไรก็ตามมักจะได้รับรางวัลที่ 3 หรือ รางวัลชมเชยมาเสมอๆ จนกระทั่งที่โรงภาพยตร์เฉลิมกรุงมีงานใหญ่ พันตรีโปรย อังศุกรานต์ เจ้าของละครวิทยุอันดับ 1 ชวนให้นริศ อารีย์ ร่วมเล่นละคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 กับละครคณะพันตรีศิลปะ และได้ร้องเพลงทางวิทยุเป็นรายการสดบ่อยๆ จนถึงปี พ.ศ. 2492 ซึ่งมีการประกวดร้องเพลงไทยสากลครั้งใหญ่ นริศ อารีย์ ได้เข้าประกวดด้วย ได้รับรางวัลชมเชย (รางวัลที่ 4) ได้รับรางวัลเงินสด 200 บาท จากจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม และประกาศนียบัตรของกรมโฆษณาการ นริศ อารีย์ ก็เริ่มเป็นนักร้องอย่างจริงจัง ด้วยความสามารถในการขับร้องเพลงที่นิ่มนวล และมีกระแสเสียงที่หวานหู จึงได้สมญานามว่า “นักร้องผิวคล้ำเสียงปุยฝ้ายชุบน้ำผึ้ง” “เพลงชั่วนิจนิรันดร” เป็นผลงานเพลงแรกที่นริศ อารีย์ บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรก ในปี พ.ศ. 2493 และในปี พ.ศ. 2499 ของคณะพันตรีศิลปะ ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย พยงค์ มุกดา ดังเนื้อร้อง ฉันรักเธอแม้เทียบเสมอกับดวงชีวิต รักเธอชั่วนิจนิรันดร แม้เธอห่างไกลใจก็หวงห่วงนิวรณ์ ถึงแม้ม้วยมรณ์ไม่ถอนรักที่มี รักฉันมั่นเหมือนดั่งตะวันมั่นรักฟากฟ้า รักดังหมู่ปลารักวารี เหมือนดังกับแหวนแสนจะรักแก้วมณี เหมือนขุนคีรีสวาทพื้นดินเดียวกัน มากมายราวกับห้วงมหรรณพ มิรู้จบดังกับมีทำนบกั้น แต่มั่นคงเหมือนดั่งสิงขรซ้อนแผ่นดินนั้น ทั้งความซื่อสัตย์มัดใจคงมั่น ดั่งตะวันซื่อต่อฟ้า “เพลงชั่วนิจนิรันดร์ดร” ขับร้องโดย นริศ อารีย์ ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย พยงค์ มุกดา ในปี พ.ศ. 2496 – 2499 การท่องเที่ยวทางทางรถไฟได้สะดวก หลังจากที่สงครามสิ้นสุดลง ใครๆ ก็อยากไปเที่ยวเชียงใหม่ นักร้องนักดนตรีไปขับร้องและเล่นดนตรีที่เชียงใหม่ และที่เชียงใหม่เองก็มีวงดนตรีของธนาคารออมสินสาขาเชียงใหม่ ไสล ไกรเลิศ เป็นผู้ที่ได้ทำนองเพลงจากเชียงใหม่ มาทำเป็นเพลงไทยสากล ได้แก่ “เพลง ม่านมุ้ยเชียงตา” ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 เป็นผู้คิดขึ้นสำหรับฟ้อน ไสล ไกรเลิศ ได้นำทำนองส่วนหนึ่งของเพลงมาทำเป็นเพลงชื่อ “เชียงใหม่” และแต่งบทร้องดังนี้ ม่านทองเยือนฟ้า ชื่นอุรา ชมฟ้าชมเวียง เชียงใหม่ หมอกอ่อน อ่อน รอนแสดงตะวัน อำไพ เหมือนดังเชียงใหม่วิมาน สะท้าน ทิวาชวนใกล้ ดอกกล้วยไม้ เจ้าก็บาน กิ่งสะท้าน แลสะร้าง โน่น…ดอยเทียมฟ้า แปลกหนักหนา งามเหมือนเทวามาสร้าง เด่น ตระหง่าน มองคล้ายวิมาน เวทางค์ สูงลอยแลห่างเหมือนปรางค์ เวหา แสงทองเยือนหล้า ส่องเวียงฟ้า เวีนงพิงค์ เพลิดพราย กลิ่นกล้วยไม้ลอยลม ชื่นชมกล้วยไม้ เด่นยั่วใจ งามสวยวิไล ชวนชม ดอกเด่น เด่น ใครเห็นก็คงนิยม เขาควรจะเด็ดไว้ชม ถนอม แม้ชมเจ้าง่าย กลิ่นกล้วยไม้เจ้าก็ตรอม สิ้นความหอมโรยรา เป็นเพลงธรรมชาติ ชมธรรมชาติ ชมเมือง ซึ่งยุคก่อนนิยมมาก ใครได้ฟังเพลงแล้วก็อยากไปเที่ยวเชียงใหม่ ครูไสล ไกรเลิศ เขียนเพลงนี้เมื่อครั้งไปเที่ยวเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2495 และแต่งเพลงนี้ให้ นริศ อารีย์ ขับร้องเมื่อปี พ.ศ. 2496 “เพลงเชียงใหม่” ขับร้องโดย นริศ อารีย์ ประพัน์ธ์คำร้องโดย ไสล ไกรเลิศ ทำนองจากเพลงม่านมุ้ยเชียงตา “เพลงเอื้องเวียงดอย” ขับร้องโดย นริศ อารีย์ และ เอมอร วิเศษสุด ประพันธ์คำร้องโดย ไพบูลย์ บุตรขัน บรรเลงโดยวงดนตรี เจือ รังแรงจิตร “เพลงสาวไกลเวียง” ขับร้องโดย นริศ อารีย์ ประพันธ์คำร้องโดย ไพบูลย์ บุตรขัน ประพันธ์ทำนองโดย ประสิทธิ์ พยอมยงค์ เป็นเพลงจังหวะบลู นริศ อารีย์ ขับร้องเมื่อปี พ.ศ. 2497 เพลงจากอินโดนีเซียเพลงหนึ่ง ชื่อเพลงเดิมไม่ทราบชื่อว่าอะไร แต่คนไทยแปลเป็นไทยว่า “บุหงาบาหลี” ประพันธ์คำร้องโดย สมาน เมธากุล ยังคงจังหวะของอินโดนีเซีย (บาหลี) ไว้ เรียกว่าจังหวะ “การ็องจ็อง” เดิมบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ชวา คือวงกาเมลัน (Gamelan) เป็นเพลงที่รู้จักกันทั่วเอเชียอาคเนย์ เพลงไทยเดิมก็เอาเพลงนี้มาเล่น “เพลงบุหงาบาหลี” ขับร้องโดย นริศ อารีย์ ประพันธ์คำร้องโดย สมาน เมธากุล “เพลงดวงจิต” ขับร้องโดย นริศ อารีย์ และ วรนุช อารีย์ ประพันธ์คำร้องโดย ประจิต เกษกุฎี บันทึกเสียงเมื่อปี พ.ศ. 2497 “เพลงดวงใจ” ขับร้องโดย นริศ อารีย์ ประพันธ์คำร้องโดย ป. ชื่นประโยชน์ ประพันธ์ทำนองโดย มงคล อมาตยกุล เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง “เสน่ห์สาวฮ่องกง” บันทึกเสียงเมื่อปี พ.ศ. 2499 “เพลงดวงใจรัญจวน” ขับร้องโดย นริศ อารีย์ ประพันธ์คำร้องโดย ไพบูลย์ บุตรขัน ประพันธ์ทำนองโดย พิมพ์ พวงนาค บันทึกเสียงเมื่อปี พ.ศ. 2498 หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 107 หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลระยะแรกเริ่ม หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 107 ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล สถานที่จัดเก็บ : https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol-107