ตอนที่ 51 เพลงโห่สมัยแรกเริ่มของเมืองไทย ตอนที่ 51 เพลงโห่สมัยแรกเริ่มของเมืองไทย ชื่อเพลง : เพลงเมื่อเดือนตก ผู้แต่ง : นารถ ถาวรบุตร ผู้ขับร้อง : เชาวลักษณ์ (ไม่ปรากฏนามสกุล) ชื่อเพลง : เพลงเมื่อสบตา ผู้ขับร้อง : คำรณ สมบุญณานนท์ ชื่อเพลง : เพลงฮูลาฮูลา ผู้ขับร้อง : คณะ Blue Rhythm ชื่อเพลง : เพลงไร้คู่ ผู้ขับร้อง : คำรณ สัมบุญณานนท์ ชื่อเพลง : เพลงประกายเดือน ผู้ขับร้อง : คำรณ สัมบุญณานนท์ ความยาว : 25.33 นาที รายละเอียด : เพลงไทยสากลยุคหนึ่งซึ่งเราได้เลียนแบบเพลงไทยสากลจากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยได้เลียนแบบฝรั่งมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เวลาคนไทยไปต่างประเทศก็ได้ทำนองเพลงฝรั่งเข้ามาแล้วนำทำนองเพลงฝรั่งเหล่านั้นมาใส่เนื้อไทย แต่มาถึงยุคหนึ่งที่วงดนตรีของฝรั่ง (อเมริกันตอนใต้) นิยมบรรเลงเพลงแจ๊ส ในการบรรเลงเพลงแจ๊สนั้นก็มีดาราบางคนซึ่งร้องไปแล้วก็โห่ เป็นลีลาที่สนุกสนานชวนฟัง เป็นเรื่องของบันเทิงคดี คนไทยก็เลยติดใจและนำเพลงโห่นั้นมาใช้ร้องเล่นในเนื้อไทยบ้าง เพลงโห่ของไทยครั้งแรกเกิดขึ้นในเมืองไทยด้วยฝีมือของครูนารถ ถาวรบุตร บันทึกแผ่นเสียงกับแผ่นเสียง ตราตึกช้างคู่ ชื่อว่า “เพลงเมื่อเดือนตก” เชาวลักษณ์ (ไม่ปรากฏนามสกุล) เป็นผู้ขับร้อง เป็นเพลงโห่ครั้งแรกในระบบการบันทึกเพลงโห่ของไทย ซึ่งครูนารถ ถาวรบุตร เป็นผู้แต่งและเป็นผู้ควบคุมการบรรเลง เพลงโห่ต่อมาจากแผ่นเสียงตรากระต่าย คณะ Blue Rhythm ผู้ขับร้อง คำรณ สมบุญณานนท์ “เพลงเมื่อสบตา” เป็นเพลงโห่ในท่วงทำนองฮาวาย กีต้าร์ฮาวายนั้นเข้ามาเมืองไทยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เพลงเสียงฮาวายนี้นิยมมาตั้งแต่สมัยกรมประชาสัมพันธ์ยังเป็นวงดนตรีกรมโฆษณาการอยู่ แต่ของทางฝ่ายกรมโฆษณาการไม่มีเพลงโห่ กลับมีทางฝ่ายอีกกลุ่มหนึ่งเข้าใจว่าจะเป็นค่ายทหารเรือแล้วก็วงดนตรีอื่น ๆ คำรณ สัมบุญณานนท์ เป็นดาราเพลงโห่ที่สำคัญมากทีเดียว อีกทั้งเป็นคนที่เริ่มต้นร้องเพลงลูกทุ่งในสมัยแรกเริ่ม เป็นบุคคลที่จะต้องยกไว้เป็นปรมาจารย์ของเพลงลูกทุ่ง อีกเพลงซึ่งเป็นเพลงไทยสากลเพลงโห่รุ่นต้น ๆ เหมือนกัน บันทึกแผ่นเสียงไว้กับแผ่นเสียงตรากระต่าย เขียนแต่ว่า “เพลงฮูลาฮูลา” ของคณะ Blue Rhythm ใช้กีต้าร์ฮาวายบรรเลงแล้วใช้นักร้องหญิง แล้วมีเสียงโห่อยู่ในเพลงนี้ด้วย บุคคลที่นิยมเพลงโห่อีกคนหนึ่งแล้วแต่งเพลงโห่ได้ดีมากคือครู เหม เวชกร เป็นคนที่มีความสามารถสูง มีอารมณ์สนุก ท่านแต่งเพลงโห่ คนที่ร้องเพลงโห่ที่ครูเหม เวชกรเป็นคนแต่งคือ คำรณ สัมบุญณานนท์ เพลงชื่อว่า “เพลงไร้คู่” เป็นเพลงเก่าเพลงหนึ่ง ถ้าจำไม่ผิดเป็นเพลงที่บันทึกเสียงในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพลงโห่นี้มาคู่กับเพลงเต้นแท็ป ซึ่งการเต้นแท็ปเป็นลักษณะของลีลาการบันเทิง ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เพลงโห่เพลงสุดท้ายชื่อ “เพลงประกายเดือน” คำรณ สัมบุญณานนท์ เป็นผู้ขับร้อง หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 51 หัวเรื่อง : เพลงโห่สมัยแรกเริ่มของเมืองไทย หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 51 ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล สถานที่จัดเก็บ : https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol-51/