ตอนที่ 44 เพลงไทยสากลปลุกใจ ยุคเรียกร้องดินแดนคืน ตอนที่ 44 เพลงไทยสากลปลุกใจ ยุคเรียกร้องดินแดนคืน ชื่อเพลง : เพลงไก่แก้ว ผู้ขับร้อง : นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ประพันธ์คำร้อง : พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) ผู้ประพันธ์ทำนอง : นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ชื่อเพลง : เพลงแคว้นหลวงพระบาง ผู้ขับร้อง : ไพพรรณ ผู้ประพันธ์คำร้อง : พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) ชื่อเพลง : เพลงมณฑลบูรพา ผู้ขับร้อง : นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ประพันธ์คำร้อง : พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) ผู้ประพันธ์ทำนอง : นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ชื่อเพลง : เพลงนครจำปาสัก ผู้ขับร้อง : นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ประพันธ์คำร้อง : พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) ผู้ประพันธ์ทำนอง : นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ความยาว : 30.30 นาที รายละเอียด : ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประมาณ ร.ศ. 112 ประเทศไทยได้ถูกคุกคามจากประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อจะเอาอาณานิคมของไทย ประเทศฝรั่งเศสได้เอาแคว้นหลวงพระบาง นครจำปาสัก และมณฑลบูรพา ได้แก่เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ เป็นต้น คนไทยรู้สึกว่าเราเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสโดยไม่จำเป็น ในยุคนั้น ผู้ที่คิดประดิษฐ์เพลงขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดความรักชาติ และเกิดความสมัครสมานสามัคคี คือ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) “เพลงไก่แก้ว” เป็นเพลงปลุกใจ และให้รู้สึกรักหน้าที่ของตนเอง ซึ่งเพลงนี้ไม่มีการจัดทำแผ่นเสียงไว้ อาจารย์พูนพิศ อมาตยกุล จึงได้ขับร้องเพลงต้นฉบับให้นักศึกษาฟัง และให้นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล นำไปเรียบเรียงขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2535 ไก่แก้วขานขัน แสงจันทร์สิ้นแสง ท้องฟ้าสีแดง อาทิตย์เริ่มฉาย ตื่นเถิดไทยเรา อย่ามัวเหงาหลับสบาย การงานมากหลาย เราต้องรีบลุกขึ้นทำ บ้านเมืองจะเรืองรุ่ง เพราะไทยมุ่งใจจดจำ ว่าชาวไทยจะต้องทำ ประเทศไทยให้เจริญ แคว้นหลวงพระบางนั้นคนไทยอยากได้กลางมาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมั่นใจว่ามีคนไทยอยู่ที่นั่นมากมาย พูดภาษาไทย กินอาหารอย่างไทย จึงเชื่อมั่นว่าคือคนไทย เพลงที่ร้องถึงแคว้นหลวงพระบางนั้น กระตุ้นให้รู้สึกว่าหลวงพระบางนั้นเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยมาก่อน โดยคัดเลือก คุณไพพรรณ จากโรงเรียนนาฏดุริยางค์ เป็นต้นเสียงในการขับร้อง ซึ่งอัดแผ่นเสียงของห้าง ต. เง๊กชวน บางลำภู ไว้ “เพลงแคว้นหลวงพระบาง” ผู้ขับร้อง ไพพรรณ ผู้ประพันธ์คำร้อง พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) อีกเพลงที่กล่าวถึงมณฑลบูรพา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของประเทศไทยในปัจจุบันได้แก่ เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ “เพลงมณฑลบูรพา” ในเพลงบูรพานี้ มีชื่อบุคคลสำคัญคือนายทหารภาคบูรพา ผู้เป็นหัวหน้าหรือแม่ทัพใหญ่ คือ หลวงพรหมโยธี (มังกร พรหมโยธี) ยกเข้าไปตีเมือง เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ มาเป็นของไทยได้ ซึ่งภายหลังได้ถูกเรียกคืนไปเป็นของฝรั่งเศส และกลายเป็นของเขมร ในปัจจุบัน หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง เช่นเดียวกันอาจารย์พูนพิศ อมาตยกุล ได้ขับร้องเพลงต้นฉบับให้ฟังและมอบหมายนักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมการดนตรี รุ่นที่ 4 สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. 2535 มณฑลบูรพา เคยได้เป็นของเรา เสียมราฐ พระตะบอง บ้านพี่เมืองน้องมาช้านาน แต่ครั้งโบราณก่อนเก่า ไทยชาติไทยใจเศร้า เลือดเนื้อเชื้อเผ่า ถูกเขายื้อแย่งไป คอย ไทยเราเฝ้าคอย แต่กำลังยังน้อย สู้กันไม่ไหว ร่วม 30 ปี ทัพของไทยก็มี สมรรถภาพและเข้มแข็งยิ่งใหญ่ ทหารภาคบูรพา ยกพลโยธี รุกไล่โจมตี พวกไพรีแตกหนีพ่ายไป กองทัพบูรพา องอาจเก่งกล้า เทิดเกียรติก้องหล้า เลือดทหารชาติไทย อีกดินแดนแคว้นหนึ่งซึ่งอยู่ตอนใต้ของลาว คือ นครจำปาสัก ซึ่งถูกกองทัพอีกกองหนึ่งซึ่งนำโดยพลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต (จิตคุณ) เกรียงศักดิ์พิชิต) เป็นผู้ยกพลบุกไปนำดินแดนจำปาสัก และตอนใต้ของลาวกลับมาผนวกเป็นของไทยได้ “เพลงนครจำปาสัก” ผู้ประพันธ์คำร้อง พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) นครจำปาสัก เป็นที่รักของชาวไทย พลัดพลากจากไทยไป อยู่ต่างแดนที่ช้านาน ไทยเฝ้าคำนึง ไทยมุ่งรำพึง ระลึกถึงตลอดกาล ฤกษ์งามยามดี ไทยเข้าโจมตี เหล่าร้ายไพรี แตกหนีแหลกราญ ธงไทยธงชัย ปลิวโบกอยู่ใน เขตแคว้นไพศาล กองทัพเกรียงศักดิ์ ไชโย ยกเข้าหาญหัก ไชโย ได้จำปาสัก ไชโย มาสมัคร สมาน พี่น้องเลือดไทย ล้วนใจชื่นบาน เทิดเกียรติทหารหาญ ของไทยยิ่งเอย นอกจากนี้ก็ยังมี “เพลงข้ามโขง” ที่พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) ได้นำเอาทำนองเพลงโฟคซอง ของอเมริกันมาใช้เป็นต้นแบบ แล้วแต่งบทร้องใส่ลงไป บทร้องเป็นการปลุกใจให้รู้สึกว่าควรจะข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาสู่แคว้นไทย ดังเนื้อความว่า ข้ามโขงมาสู่แคว้นไทย มาเราชาวไทยรักใคร่กัน โขงคือว่าสายสัมพันธ์ ร่วมจิตร่วมใจร่วมไทยไว้ด้วยกัน เหมือนน้องพี่ล้วนแต่มีเกี่ยวพัน แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสำคัญ เราควรจะกลับมาอยู่รวมกัน แล้วให้แม่น้ำโขงอยู่ตรงกลางใจเราทั้งสองฝ่าย (เพลงนี้มีแต่การกล่าวถึง ไม่มีการขับร้อง) หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่ 44 หัวเรื่อง : เพลงไทยสากลระยะแรกเริ่ม หัวเรื่อง : รายการเพลงไทยสากลจากอดีต ตอนที่44 ผู้จัดรายการ : พูนพิศ อมาตยกุล สถานที่จัดเก็บ : https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol-44/